ไขมันสูงจะเกิดโรคหัวใจมากไหม

การจัดระดับความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมซึ่งแนวทางเก่าจะเน้นที่ค่าไขมันไม่ดีคือ LDL Cholesterol แต่แนวทางใหม่จะเน้นที่ลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

แนวทางเก่า

ระดับความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมี3ลำดับซึ่งมีผลต่อการกำหนดระดับ LDL-C ที่พึงมีในเลือด หากมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดร่วมด้วย (>200 มก/ดล) ให้ใช้ระดับ non-HDL-C แทน ระดับ non-HDL-C คือค่า total cholesterol ลบด้วย HDL-C  


ระดับ 1 เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่

  • ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่แล้วและผู้ที่มีโรคอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงเทียบเท่ากับเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้แก่
    • Ischemic stroke ที่เกิดจากหลอดเลือด carotid artery
    • transient ischemic attack
    • Symptomatic peripheral arterial disease
    • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย(เท้า)
    • Abdominal aortic aneurysm  
  • โรคเบาหวานและมีอวัยวะเสียหายจากโรคเช่น ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ หรือ สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
  • โรคไตเสื่อมมีอัตรากรองของไตต่ำกว่า 30
  • อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดใน 10 ปีมากกว่าร้อยละ10

กลุ่มนี้ระดับไขมันที่พึงมีในเลือด คือ LDL-C 100 มก/ดล หรือ non-HDL-C 130 มก/ดล

ระดับ 2เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงปานกลางในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ได้แก่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ไม่รวม LDL-C ได้แก่ 

  • สูบบุหรี่
  • ความดันโลหิตสูง(ความดัน >140/90 mmHg หรือ ได้รับยาลดความดันโลหิต)
  • HDL-C ต่ำ ( 40 มก./ดล)
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ชายเป็นอายุน้อยกว่า 55 ปี, ผู้หญิงเป็นอายุน้อยกว่า 65 ปี
  • อายุ  ผู้ชายมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี, ผู้หญิงมากกว่าหรือเท่ากับ 55 ปี

ในกลุ่มนี้ไขมันระดับที่พึงมีในเลือด คือ LDL-C 130  มก/ดลหรือ non-HDL-C160 มก/ดล

ระดับ 3  เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงน้อยในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ  

ได้แก่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง0-1ข้อซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นเดียวกับระดับ 2 ในกลุ่มนี้ไขมันระดับที่พึงมีในเลือด คือ LDL-C 160มก/ดลหรือnon-HDL-C 190 มก/ดล

ทั้งในระดับ 2 และ ระดับ 3 หากค่า HDL-C >60 มก/ดลนับปัจจัยเสี่ยงลดลง 1 ข้อ

การประเมินความเสี่ยงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะพิจารณาจาก เพศ อายุ ระดับไขมัน ระดับความดันโลหิต การสูบบุหรี่ และนำไปเทียบกับตารางก็จะได้ตัวเลขความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าหากมากกว่าร้อยละ10จะต้องควบคุมความเสี่ยงให้ดี การประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะแยกเป็น

การจัดระดับความรุนแรงของความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

จะแบ่งระดับความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดออกเป็น

ความเสี่ยงสูงมาก

ได้แก่ภาวะดังต่อไปนี้

ความเสี่ยงสูง

  • ผู้ที่มีระดับไขมัน หรือระดับความดันโลหิตสูงมาก
  • มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ระหว่าง 5-10 %

ความเสี่ยงปานกลาง

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่า1-5 %

ความเสี่ยงต่ำ

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่า1%

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด(นอกเหนือจากไขมัน)

ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
ความดันโลหิตสูง อายุ
สูบบุหรี่ เพศ
เบาหวาน ประวัติญาติสายตรงเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดก่อนวัย
อ้วน  
ไม่ออกกำลังกาย  
อาหารที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง  

ระดับไขมันที่พึงมีในเลือดตามระดับความเสี่ยง

                                                                                                                                                     
  มก% มก% มก% มก%
ระดับความเสี่ยง  LDL   TG   HDL non-HDL
เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงมาก ความเสี่ยงในการเกิดโรค 100 150 >40 <130
มีปัจจัยเสี่ยง 2 ข้อขึ้นไป 130 150 >40 <160
มีปัจจัยเสี่ยง 0-1 ข้อ 160 150 >40 <190

* ระดับ non-HDL-Cใช้ในกรณีที่ TG>200 มก/ดล

ทบทวนวันที่ 5/2/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน