การรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายในโรงพยาบาล
การรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายในโรงพยาบาล
- ควรจะพักในหน่วยโรคหัวใจ และติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- ให้มีสายน้ำเกลือสำหรับให้ยาฉุกเฉิน
- ให้ออกซิเจน 2-4 ลิตรต่อนาทีเพื่อให้ oxygen saturation > 90%
- กิจกรรม
- พักบนเตียงใน 12 ชั่วโมงแรก
- หากไม่มีโรคแทรกซ้อน
- ให้เริ่มมีการฟื้นฟูสภาพในวันที่ 2-3
- เมื่อวันที่3 ควรจะเดินได้ครั้งละ 185 เมตร วันละ 3 ครั้ง
- การให้ยาคลายเครียด
- ช่วงที่ต้องการให้ผู้ป่วยพักควรจะให้ยาคลายเครียด
- Diazepam: 5 mg รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง
- Oxazepam: 15–30 mg วันละ 3-4 ครั้ง
- Lorazepam: 0.5–2 mg วันละ 3-4 ครั้ง
- ก่อนให้ยาคลายเครียดต้องทบทวนยาที่ผู้ป่วยได้ เพราะมียาหลายชนิดที่รับประทานแล้วจะกิดการง่วงซึมโดยเฉพาะผู้สูงอายุ..
- อาหาร
- ใน 4–12ชั่วโมงแรกควรจะงดอาหาร หรือให้อาหารเหลว
- อาหารสำหรับผู้ป่วย
- ให้อาหารที่มีพลังงานจากไขมันน้อยกว่า30% ของพลังงานทั้งหมด
- มี Cholesterolน้อยกว่า 300 mg/d
- ให้อาหารแป้งที่มีใยอาหาร 50–55% ของพลังงานทั้งหมด
- แต่ละมื้อไม่ควรจะมากเกินไป
- อาหารควรจะอุดมไปด้วย potassium, magnesium,และใยอาหาร ให้มีปริมาณเกลือน้อย
- สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรจะลดน้ำตาล
- ให้ยาระบายเช่น Docusate sodium, 100–200 mg/d
- ควบคุมน้ำตาล และไขมันในเลือด
- ประเมินการทำงานของหัวใจก่อนกลับบ้าน
การให้ยารักษารักษากล้ามเนื้อหัวใจตาย
- ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด/ ยาต้านเกล็ดเลือด
- ให้ aspirin, 75–162 mg/วัน
- Clopidogrel: 300-mgครั้งแรกและตามด้วย 75 mg/วันสำหรับผู้ป่วยที่แพ้ aspirin
- ให้ clopidogrel อย่างน้อย 1ปีในผู้ป่วยที่ทำ PCI และใส่ขดลวดชนิด drug-eluting stentsและอย่างน้อย1 เดือนสำหรับผู้ป่วยที่ใส่ขดลวดชนิด bare-metal stents.
- ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่เท้า deep venous thrombosis
- Aspirin, 75–162 mgวันละ 4 ครั้งและ
- heparin, 5000 U SCทุก 12 ชั่วโมง
- ผู้ป่วนที่หลอดเลือด anterior coronary ตัน หรือหัวใจวาย และมีลิ่มเลือดอุดสมอง ตรวจพบลิ่มเลือดในหัวใจ จากการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือหัวใจเต้นสั่นพริ้ว จะต้องให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
- ให้ยา heparinเพื่อคุม partial thromboplastin timeประมาณ 1.5–2เท่า
- หรือ enoxaparin, 1 mg/kg SCทุก 12ชั่วโมง
- ให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด warfarinอย่างน้อย 3-6 เดือนโดยคุม INR = 2- 3เท่า
- ยา Beta-blocker therapy after STEMI
- ไม่ควรให้ในผู้ป่วยที่มีภาวะเหล่านี้
- หัวใจวาย
- Heart block
- ความดันโลหิคต่ำ
- ประวัติเป็นหอบหืด
- ยานี้อาจจะได้ประโยชน์น้อยในผู้ป่วยเหล่านี้
- กลุ่มที่อัตราการเสียชีวิต < 1% per year
- อายุ < 55 years
- ไม่เคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาก่อน
- การทำงานของหัวใจปรกติ
- การเต้นของหัวใจปรกติ
- ไม่มีแน่หน้าอก
- ยากลุ่ม ACE inhibitors
ยาในกลุ่มนี้จะมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
- ลดอัตราการเสียชีวิตจาก STEMI
- ยานี้เมื่อให้ร่วมกับ aspirin และ beta blockers จะเสริมฤทธิ์ในการลดอัตราการเสียชีวิต
- โดยเริ่มให้ Captopril: 6.25 mg ในครั้งแรก และค่อยเพิ่มขนาดจนกระทั่งได้ 50 mg วันละ 3 ครั้ง
- ควรจะให้ในวันแรกของการนอนโรงพยาบาลเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
- ยานี้จะจำเป็นในผู้ป่วยดังต่อไปนี้:
- หัวใจวาย
- กล้ามเนื้อหัวใจทำงานน้อย
- เป็นความดันโลหิตสูง
- Angiotensin receptor blocker
- ใช้สำหรับผู้ที่ใช้ยา ACE inhibitors ไม่ได้
- Aldosterone blockade
- เป็นยาขับปัสสาวะ ควรจะให้ใน STEMI ที่มีเงื่อนไขดังนี้:
- ไม่มีภาวะไตเสื่อมโดยค่า creatinine ≥2.5 mg/dLในผู้ชาย และมากกว่า ≥2.0 mg/dLในผู้หญิง
- ไม่มีภาวะเกลือโพแทสเซี่ยมสูง hyperkalemia (potassium ≥5.0 mEq/L)
- ให้ร่วมกับยา ACE inhibitor
- หัวใจทำงานน้อยกว่า LV ejection fraction ≤40% และ
- มีอาการหัวใจวาย หรือเป็นเบาหวาน+
- Statins
- ควรจะให้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากนอนโรงพยาบาล
ไม่ควรให้ยา Calcium antagonists และหยุดยา NSAIDs (except aspirin)
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว