หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
กลไกการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีได้หลายกลไก การรักษาก็ขึ้นกับสาเหตุหรือกลไกการเกิดแผล โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น แผลจากปลายประสาทเสื่อม แผลจากขาดเลือด และแผลจากการติดเชื้อ
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะพบว่ามีโรคแทรกซ้อน เป็นโรคปลายประสาทเสื่อมหรืออักเสบร้อยละ 58 (อ่านที่นี่):ซึ่งจะส่งผลเสียดังนี้
มักเกิดบริเวณปลายนิ้วเท้า แผลมักจะลุกลามจากปลายนิ้วมายังโคนนิ้วและลามมาถึงเท้า ขอบแผลเรียบ ก้นแผลมีสีซีด ไม่มีเลือดออก และอาจจะมีการตายของนิ้วเท้าข้างเคียงร่วมด้วย
ในระยะแรกอาจจะมีอาการปวดเท้าเวลาเดิน ซึ่งอาการปวดจะดีขึ้นเมื่อหยุดพัก แต่ในระยะท้ายของการขาดเลือด จะมีอาการปวดบริเวณที่ขาดเลือด แผลเหล่านี้หายยาก การตรวจขา เท้า และผิวหนังพบว่าผิวหนังแห้ง เย็นซีด ขนร่วง เส้นแตกง่าย กล้ามเนื้อน่องรีบ คลำชีพขจรที่เท้าเบาลงหรือคลำไม่ได้ ดูภาพที่นี่
ปรกติการจะบอกว่าเส้นเลือดตีบจะต้องใช้วิธีการฉีดสี แต่มีวิธีการตรวจเบื้องต้นว่าเลือดไปเลี้ยงขาไม่พอได้แก่การตรวจ
การตรวจ | ค่าผิดปกติ |
---|---|
Transcutaneous oxygen measurement |
น้อยกว่า 40 mm Hg |
Ankle-brachial index |
น้อยกว่า 0.80: abnormal |
น้อยกว่า 0.45: severe, limb-threatening |
|
Absolute toe systolic pressure |
น้อยกว่า 45 mm Hg |
แผลที่มีการอักเสบเฉียบพลันจะพบลักษณะบวมแดงร้อน กดเจ็บที่แผล และอาจจะมีหนองไหลออกมา ส่วนแผลที่อักเสบเรื้อรังจะมีอาการบวม แดงร้อน หากติดเชื้อรุนแรงอาจจะมีไข้ร่วมด้วย บางครั้งมีอาการโลหิตเป็นพิษ เช่น ชีพขจรเบา เร็ว ความดันโลหิตลดลง ซึมลง
ดังนั้นหากเกิดแผลที่เท้าต้องดูว่าแผลเกิดจากสาเหตุใด การรักษาจะตามสาเหตุ
โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน |
โรคแทรกซ้อนที่เท้า
โรคเท้าในเบาหวาน | ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและเท้า | การดูแลเท้าด้วยตัวเอง | การบริหารเท้า | การดูแลสุขภาพเท้า | ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดเท้า | การใช้รองเท้า | การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผล | ชนิดของแผลเบาหวาน | การรักษา | เท้าผิดรูป | การเลือกรองเท้า
โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง| โรคไต | โรคตา | โรคปลายประสาทอักเสบ | โรคเบาหวานกับเท้า