แผลเบาหวานที่เท้า
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เท้า
ผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณร้อยละ 15 จะเกิดแผลที่เท้าและร้อยละ 14-24 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องถูกตัดขาอายุที่เกิดมักจะเกิน 65 ปีผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เท้าคือคนที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นสัญญาณที่แสดงว่าอาจจะมีโรคแทรกซ้อนที่เท้า
- สีของผิวเปลี่ยนไปเช่นคล้ำขึ้น
- อุณหภูมิของผิวหนังเพิ่มขึ้น
- บวมที่เท้า
- ปวดขา
- แผลที่เท้าหายช้า
- เล็บขบและมีเชื้อราที่เล็บ
- เลือดออกบริเวณตาปลา
- ผิวแห้งแตกโดยเฉพาะบริเวณส้นเท้า
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลในผู้ป่วยเบาหวานมีอะไรบ้าง
- ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมามากกว่า 10 ปี พบว่าหากเป็นเบาหวานนาน 25 ปีขึ้นไป มีโอกาสต้องถูกตัดขาสูงถึงร้อยละ 11
- เป็นชาย เสี่ยงกว่าเพศหญิง
- คุมเบาหวานไม่ดี น้ำตาลสูงทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ดี
- การสูบบุหรี่
- มีโรคแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ
พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าสูงเนื่องจากมีการเสื่อมของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบเลือดไปเลี้ยงบริเวณเท้าน้อยลง รวมทั้งมีการเสื่อมของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงยังเท้า
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผล
การดูแลเท้าด้วยตัวเอง
ข้อควรปฏิบัติเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง
- ควบคุมเบาหวานให้ดีที่สุดซึ่งสามารถอัตราการเกิดปลายประสาทอักเสบ diabetic neuropathy
- งดการสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
- ออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอ
- ควบคุมไขมันในเลือดไม่ให้สูงเกินปกติ
- รักษาโรคความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดการบริโภคเกลือ
- ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกตบริโภคผักเพิ่มขึ้น
- ผู้ป่วยที่มีปลายประสาทอักเสบจะมีอาการชาที่เท้าควรสอนผู้ป่วยให้ใช้ตามอง
หรือการใช้มือคลำเพื่อตรวจดูเท้า
และสิ่งแวดล้อม
- ผู้ป่วยมีรอยกดทับหรือตาปลา ควรเลือกรองเท้าที่สามารถกระจายน้ำหนักได้ดีกว่าเดิม และอาจจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาเวลาเดิน intermittent claudication ควรได้รับการปรึกษาศัลยแพทย์เพื่อประเมึนสภาพหลอดเลือดแดงที่ขาเพื่อวางแผนการรักษา ถ้าปวดขณะพักควรได้รับการต่อเส้นเลือด>
- ผู้ป่วยที่หลอดเลือดแดงที่ขาตีบไม่ควรใช้ยาลดความดันกลุ่ม beta-block
หลักการรักษาแผลเรื้อรังที่เท้าจากโรคเบาหวาน
หากท่านมีแผลเรื้อรังที่เท้าแพทย์จะ x-ray ที่เท้าเพื่อดูว่ากระดูกมีการติดเชื้อหรือไม่ หากไม่แน่ใจแพทย์จะส่ง MRI เพื่อตรวจสอบให้ละเอียดหลักการรักษาประกอบด้วย
- การรักษาโรคติดเชื้อ แพทย์จะทำความสะอาดแผลโดยการตัดเนื้อที่ไม่ดี ช่วงแรกจะตัดเป็นบริเวณ
รูปแสดงแผลกดทับ
|
กว้าง หากแพทย์พบว่ามีการติดเชื้อแพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะ ถ้าหากเป็นมากแพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีด หลังจากนั้นก็จะทำแผลเพื่อลดการติดเชื้อ ลดอาการปวด ทำให้แผลหายเร็ว ท่านที่เป็นแผลขอให้ปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ ใช้ยาทาหรือน้ำยาล้างแผลตามที่แพทย์แนะนำ รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง อย่าซื้อยามาใส่เอง เช่น ไฮโดรเจนเพราะทำให้แผลหายช้า
- ลดแรงกดที่เท้า ปัจจัยเสี่ยงข้อหนึ่งของแผลที่เท้าเกิดจากแรงกด การลดแรงกดจะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น อาจจะจำเป็นต้องใช้รองเท้าชนิดพิเศษ(orthopedic shoes) เพื่อกระจายแรงกดให้ไปทั่วทั้งเท้า ใช้ไม้เท้า ไม้ค้ำยันนั่งรถเข็นหรือแม้กระทั่งการลดน้ำหนัก และการยกเท้าสูง
- การเพิ่มเลือดไปเลี้ยงเท้าสำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดแดงที่เท้าตีบการผ่าตัดเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงเท้าจะช่วยมิให้เท้าถูกตัด
- การทำให้แผลหายเร็วโดยการสารบางชนิดที่กระตุ้นการเจริญของเซลล์สารดังกล่าวได้แก่ recombinant growth factors และ bioengineered skin patches