หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
เบาหวานทุกท่านโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมาหลายปี ควรจะต้องตรวจเท้าด้วตัวเองอย่างละเอียด เพื่อที่จะค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผล การตรวจอย่างละเอียดทำได้ดังต่อไปนี้
ควรซักประวัติที่เกี่ยวข้องและปัจจัยเสี่ยงต่อการถูกตัดขา ได้แก่
ประวัติปลายประสาทอักเสบ
ประวัติเลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ
โรคแทรกซ้อนจากเลาหวาน
2.1 การตรวจระบบประสาท ( neurological evaluation )
: เพื่อค้นหาภาวะปลายประสาทเสื่อม ( peripheral neuropathy ) ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่ได้ประเมินตั้งแต่เริ่มต้น แต่มักจะตรวจในที่มีอาการปวด ชา หรือมีแผลเกิดขึ้นนแล้ว ได้แก่
2.2การตรวจระบบหลอดเลือดส่วนปลาย ( vascular screening )
เป็นการตรวจหาลักษณะการขาดเลือดเรื้อรัง เช่น ลักษณะผิวมันเป็นเงา (shiny skin) ไม่มีขนบริเวณหน้าแข็งนิ้วหัวแม่เท้า เท้าเย็น การดู capillary refill time ( ปกติควรน้อยยกว่า 5 วินาที) และการประเมินสภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดบริเวณเท้าโดย การคลำชีพจรของหลอดเลือดเบาหรือคลำไม่ได้ อ่านหลอดเลือดขาตีบ
2.3 การตรวจระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
เป็นการตรวจที่จะทำให้เกิดแรงกดทับที่ผิดปกติเช่นเท้าผิดรูป กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อลีบฝ่าเท้า ใหปุ้่มกระดูกชัด โครงสร้างเท้าผิดรูปจากปลายประสาทอักเสบ ทำให้กระดูกฝ่าเท้ายื่นผิดปกติ (collapsed arch) หรือ การทรงตัวผิดปกติ มีข้อจำกัดการเคลื่อนของข้อต่อบริเวณเท้า การตรวจลักษณะผิดรูป
2.4การตรวจระบบผิวหนังและเล็บ
เป็นการตรวจหาลักษณะผิวแห้ง แตก แผลถลอก ซึ่งอาจเป็นทางเข้า ของเชื้อโรคบริเวณที่ร้อน แดง หรือแข็งด้านผิดปกติบ่งบอกว่า มีแรงกดมาก เสี่ยงต่อการเกิดแผล หรือเล็บยาวเกินไปทำให้เกิดบาดแผลต่อบริเวณข้างเคียง บางรายอาจมีเล็บขบ หรือเชื้อราบริเวณง่ามนิ้วเท้า ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อลุกลาม
สีผิวสีผิวที่เท้าจะมีสีผิวเหมือนกับสีผิวที่อื่น สีผิวที่ผิดปกติสำหรับโรคเบาหวานได้แก่
ผิวจะมีสีคล้ำเป็นด่างและมัน |
ผิวสีดำหมายถึงส่วนดังกล่าวมีเนื้อตาย จากการขาดเลือด |
ผิวหนังอักเสบ ผิวสีแดงและบวมหมายถึงมีการอักเสบ |
เล็บขบและมีการอักเสบ |
หากบริเวณดังกล่าวดำเข้มและผิวแห้งจะหมายถึงเนื้อเยื่อดังกล่าวตายไปแล้ว
โดยปกติอุณหภูมิผิวหนังของเท้าทั้งสองข้างควรจะเท่ากัน วิธีการตรวจเองโดยการใช้มือสัมผัสส่วนที่ต้องการตรวจ เมื่อเทียบกับอีกข้างหนึ่งหรือส่วนอื่นของร่างกาย ความผิดปกติที่พบได้แก่
ปกติจะพบขนบริเวณหน้าแข้ง และบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า หากขนดังกล่าวหลุดร่วงหมายถึงว่า อาจจะมีปัญหาเรื่องเลือดไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวไม่พอ
บริเวณที่พบมีเชื้อราได้บ่อยได้แก่บริเวณซอกนิ้วที่เรียกว่าฮ่องกงฟุต หากไม่รักษาจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบตทีเรีย นอกจากนั้นต้องดูผิวหนังทั่วไปว่าสีแดงซึ่งอาจจะมีการอักเสบที่เรียกว่า cellulitis
การตรวจทั่วทั้งเท้า(หลังเท้า ฝ่าเท้า ส้นเท้า และซอกนิ้ว)
เป็นการตรวจเท้าให้ครอบคลุมทั้งเท้าเพื่อดูสีผิว แผล เท้าผิดรูป การติดเชื้อ ตาปลาว่ามีหรือไม่
การตรวจดูเล็บเพื่อหาความผิดปกติเกี่ยวกับเล็บ เช่น เล็บขบ เชื้อราที่เล็บ เล็บงุ้มหรือไม่ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เล็บงอกแทงเนื้อ
2.5 การประเมินรองเท้าที่เหมาะสม
เป็นการตรวจดูว่า ขนาดและรูปแบบเหมาะสมหรือไม่ มีบริเวณที่รับน้ำหนักผิดปกติหรือไม่ การประเมินความพอดีของรองเท้า
การตรวจวัดความรู้สึกซึ่งจะต้องตรวจโดยแพทย์ หรือหากมีอาการเท้าชาแสดงว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องระบบประสาท ที่มาเลี้ยงที่เท้า อ่านที่นี่
การตรวจการไหลเวียน อ่านที่นี่
โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน |
โรคแทรกซ้อนที่เท้า
โรคเท้าในเบาหวาน | ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและเท้า | การดูแลเท้าด้วยตัวเอง | การบริหารเท้า | การดูแลสุขภาพเท้า | ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดเท้า | การใช้รองเท้า | การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผล | ชนิดของแผลเบาหวาน | การรักษา | เท้าผิดรูป | การเลือกรองเท้า
โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง| โรคไต |โรคตา |โรคปลายประสาทอักเสบ |โรคเบาหวานกับเท้า