การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เป้าหมายของการรักษาคือลดระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติให้มากที่สุดโดยการ คุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และการฉีดอินซูลิน และควรจะเจาะเลือดเพื่อปรับขนาดอินซูลินแนวทางการรักษาดรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้แก่

  1. การรับประทานอาหาร
  2. การออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. การรักษาด้วยยา
  4. การเจาะเลือดเพื่อควบคุมโรค
  5. หลังคลอดแล้วต้องตรวจเลือดหาระดับน้ำตาล

การรับประทานอาหาร

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยการบริโภคผัก ผลไม้ และธัญพืช เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากเป็นอาหารที่มีสารอาหารและเส้นใยสูง แต่มีน้ำตาลน้อยและมีแคลอรี่ต่ำ นอกจากนี้ ควรจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารจำพวกแป้ง และหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยมีน้ำตาลในเลือดสูงและมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ป่วยที่อ้วนมีดัชนีมวลกาย( BMI)มากกว่า>30  ให้ลดพลังงานลง 30-33%(ประมาณ1800 กิโลแคลอรี) โดยรับประทานอาหารวันละสามมื้อ และมีอาหารว่างวันละสองครั้ง ให้รับประทานอาหารจำพวกแป้งร้อยละ 40 ของพลังงานที่ควรได้รับแต่ละวัน อาหารจำพวกแป้งควรจะเป็นอาหารแป้งเชิงซ้อนเช่น ธัญพืช ข้าวกล้อง ถั่ว ผัก ผลไม้ไม่หวาน ร้อยละ20ของพลังงานทั้งหมดได้จากอาหารโปรตีน โปรตีนที่เหมาะสำหรับคนตั้งครรภ์ได้แก่ เนื้อแดง ปลา เต้าหู้ ส่วนอาหารไขมันควรได้รัยประมาณร้อยละ25-30 และเป็นไขมัอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ10 ตัวอย่างน้ำมันสำหรับคนตั้งครรภ์คือ น้ำมันถั่ว น้ำมัมะกอก น้ำมันอโวคาโด นอกจากนั้นจะต้องรับประทานใยอาหารวันละ25-30 กรัม

การออกกำลังกายเป็นประจำ

 ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสมหลังจากได้รับอนุญาตจากแพทย์ก่อนเสมอ ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพราะเป็นการกระตุ้นน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้เคลื่อนเข้าสู่เซลล์เพื่อผลิตเป็นพลังงาน และยังช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินด้วย นอกจากนี้ การออกกำลังกายที่ถูกวิธีอาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากการตั้งครรภ์ได้ เช่น อาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ตัวบวม ท้องผูก และนอนไม่หลับ เป็นต้น ชนิดของการออกกำลังกายไม่ควรเป็นชนิดที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์เช่น การเดินหรือการวิ่งเหยาะ ๆ, การว่ายน้ำ, เต้นรำ, วันละ 30 นาที

การรักษาด้วยยา

ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อสุขภาพของตนและทารกในครรภ์ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด

โดยแนวทางในการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด 4-5 ครั้ง/วัน ในช่วงเวลาก่อนรับประทานอาหารเช้าและหลังมื้ออาหารทุกมื้อ เพื่อตรวจดูว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ โดยเจาะเลือดที่ปลายนิ้วแล้วหยดเลือดลงบนแถบทดสอบ จากนั้นอ่านค่าด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาล ซึ่งจะแสดงระดับน้ำตาลในเลือดที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
    • ให้ใช้อินซูลินเมื่อคุมอาหารและออกกำลังกายแล้วระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้ายังสูงกว่า 95 มก.% หรือระดับน้ำตาลหลังอาหาร 2ชม.มากกว่า 120 มก.%
    • ไม่ใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล
    • ให้ใช้อินซูลินที่มีโครงสร้างเหมือนคน [human insulin]
    • ระดับน้ำตาลที่ต้องการ

      • น้ำตาลก่อนอาหารเท่ากับหรือน้อยกว่า 95 mg/dL
      • ระดับน้ำตาลหลังอาหารหนึ่งชั่วโมงเท่ากับหรือน้อยกว่า 140 mg/dL
      • ระดับน้ำตาลหลังอาหารสองชั่วโมงเท่ากับหรือน้อยกว่า 120 mg/dL
  • ใช้ยารักษา หากระดับน้ำตาลในเลือดยังคงสูงอยู่หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายมาระยะหนึ่งแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาฉีดอินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
  • รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ แพทย์อาจตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์มากเป็นพิเศษด้วยการอัลตราซาวด์ และอาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ว่ามีการเจริญเติบโตตามปกติหรือไม่ กรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะคลอดช้ากว่ากำหนด แพทย์อาจวางแผนให้ผู้ป่วยเจ็บครรภ์คลอดเร็วขึ้น เนื่องจากการคลอดช้ากว่ากำหนดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งมารดาและทารกได้

การเจาะเลือดเพื่อควบคุมโรค

แล้วจะต้องปฏิบัติตัวยังไงหากมีอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งครัด
  • ต้องควบคุมอาหารให้ถูกสัดส่วนและถูกเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก รับประทานอาหาร 3 - 5 มื้อ แต่ที่สำคัญก็คือปริมาณของอาหารในแต่ละวันจะต้องควบคุมให้ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
    • ลดอาหารจำพวก แป้งหรือน้ำตาล และเปลี่ยนมารับประทานข้าวจากข้าวขาวมาเป็นข้าวซ้อมมือ
    • เพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เลือกเป็นเนื้อล้วน ไม่ติดหนัง
    • รับประทานผักให้หลากหลายชนิด เน้นไปในผักที่มีกากใยสูง
    • เลือกดื่มนม ควรรับประทานนมสดชนิดจืดและพร่องมันเนย
    • หลีกเลี่ยงของหวาน ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุกเรียน มะม่วงสุก เงาะ เป็นต้น
    • งดอาหารที่มีเกลือสูง เช่น ขนมขบเคี้ยว ต่าง ๆ
    • งดอาหารที่มีไขมันสูง อย่างอาหารทอดหรืออาหารผัดที่ใช้น้ำมันมาก ๆ (ควรหันมาใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารแทน เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน)
  • ต้องมารับการตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด ในระหว่างการฝากครรภ์ แพทย์อาจนัดมาตรวจครรภ์บ่อยกว่าปกติเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลเพื่อแพทย์จะได้ประเมินและปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสมต่อไป
  • ยาที่ใช้รักษาเบาหวานจะต้องใช้แบบชนิดฉีด ในบางรายจะต้องฉีดวันละหลายครั้ง
  • ในกรณีที่มีความผิดปกติ เช่น คุณแม่มีอาการอ่อนเพลีย, น้ำหนักตัวขึ้นมากจนเกินไป, ท้องไม่โตขึ้น, ลูกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้น, มีอาการของครรภ์เป็นพิษ, มีความผิดปกติอื่น ๆ (เช่น เบาหวานขึ้นตา) ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

หลังคลอดต้องตรวจเลือด

หลังคลอด 6-12 สัปดาห์จะต้องตรวจหาน้ำตาล หากผิดปกติแสดงว่าเป็นเบาหวาน หากปกติก็ตรวจเลือดซ้ำทุก1-3ปี

 

โรคเบาหวานและสุภาพสตรี

โรคเบาหวานกับการตั้งครรภ์ | การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ | โรคเบาหวานกับคุณสุภาพสตรี | การตรวจวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การเตรียมตัวตั้งครรภ์ | อาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | โรคแทรกซ้อนเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์

หลักการรักษาโรคเบาหวาน

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง