jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

โรคเบาหวานและการตั้งครรภ์

เนื้อหาของบทนี้จะแบ่งเป็นสองหัวข้อใหญ่กล่าวคือ การเตรียมตัวตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และการเตรียมตัวตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้ว

การเตรียมตัวสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ในขณะตั้งครรภ์

การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์

เนื่องจากโรคเบาหวานไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ 1 หรือ 2 จะเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดความพิการแก่ทารกเชื่อว่าเกิดจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูงในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าการวางแผนตั้งครรภ์และการดูแลระหว่างการตั้งครรภ์จะสามารถลดการแท้งและความพิการของทารก แต่ผู้ป่วยโรคเบาหวานตั้งครรภ์โดยที่ไม่ได้วางแผน

โรคเบาหวานกับการคุมกำเนิด

โรคเบาหวานสามารถใช้วิธีคุมกำเนิดได้ทุกวิธีและเป็นวิธีที่คุ้นเคยและมีประสิทธิภาพ เพราะหากตั้งครรภ์อาจจะเกิดผลเสียต่อเด็ก

การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์

เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิด ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่วางแผนจะตั้งครรภ์ควรที่จะวางแผนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ โดยจะต้องคุมโรคเบาให้ดีโดยต้องเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเอง

ข้อมูลที่แพทย์ต้องการเพื่อการวางแผนการรักษา

หากท่านต้องการที่จะตั้งครรภ์ท่านต้องเตรียมข้อมูลก่อนพบแพทย์ ข้อมูลที่แพทย์ต้องการมีดังนี้

เมื่อไปพบแพทย์จะต้องตรวจร่างกายอะไรบ้าง

เนื่องโรคเบาหวานจะมีโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับ ตา ไต หัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท แพทย์ก็จะต้องตรวจผู้ป่วยว่ามีโรคเหล่านี้หรือไม่

การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ก่อนการตั้งครรภ์

เป็นการตรวจเพื่อดูว่าสามารถคุมโรคเบาหวานได้ดีเพียงใด หากคุมได้ดีก็ให้ตั้งครรภ์ได้ แพทย์จะเจาะเลือดตรวจดูสิ่งต่อไปนี้

การวางแผนการรักษา

การที่ให้ตั้งครรภ์ได้ก็ต่อเมื่อระดับ HbA1c อยู่ในเกณฑ์ปกติการตั้งครรภ์กับโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

การควบคุมเบาชนิดคุมเข้มมักจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นผู้ป่วยและญาติต้องรู้จักภาวะนี้รวมทั้งวิธีแก้ไข

โรคแทรกซ้อนทางตา Retinopathy

ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะทำให้อาการแทรกซ้อนทางตาเป็นมากขึ้นดังนั้นต้องตรวจตาไว้ก่อนตั้งครรภ์ และระหว่างการตั้งครรภ์จะต้องตรวจเป็นระยะๆ

ความดันโลหิตสูง

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 รวมทั้งการตั้งครรภ์จะทำให้เกิดวามดันโลหิตสูงโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่า 190 มก.%ดังนั้นควรที่จะคุมความดันโลหิตสูงให้ดีก่อนการตั้งครรภ์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่มต่อไปนี้ ACEI Bblock ยาขับปัสสาวะ

โรคไต

หากการตั้งครรภ์ทำให้ไตทำงานเสื่อมลง(creatini มากกว่า 3 มก.%) ไม่ควรให้ตั้งครรภ์ต่อ หากปริมาณไข่ขาวมากกว่า 190 มก.%ต้องระวังเรื่องความดันโลหิตสูงในไตรมาศ 2 ของการตั้งครรภ์

โรคหัวใจ

หากมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบต้องแก้ไขก่อนการผ่าตัด และควรได้ตรวจความแข็งแรงของหัวใจเพื่อให้แน่ใจไดว่าเมื่อตั้งครรภ์แล้วหัวใจจะทนได้

   

โรคเบาหวานและสุภาพสตรี

โรคเบาหวานกับการตั้งครรภ์ | การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ | โรคเบาหวานกับคุณสุภาพสตรี | การเตรียมตัวตั้งครรภ์

หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง