ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะคลอดบุตรที่มีสุขภาพแข็งแรง อย่างไรก็ตาม หากได้รับการดูแลรักษาที่ไม่เหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนี้
ผลของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต่อทารก
- ทารกคลอดก่อนกำหนด เด็กอาจคลอดในช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ และอาจเผชิญภาวะหายใจลำบาก ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจนกว่าปอดของทารกจะสมบูรณ์เต็มที่ แต่ทารกที่เกิดจากแม่ซึ่งป่วยเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ก็อาจเผชิญภาวะหายใจลำบากได้เช่นเดียวกัน แม้จะไม่ได้คลอดก่อนกำหนดก็ตาม
- น้ำหนักทารกแรกคลอดมากกว่าปกติที่ควรจะเป็น ระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดแม่ที่สูงมากจะกระตุ้นให้ตับอ่อนของทารกผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้ทารกมีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ ซึ่งทำให้คลอดยาก หากเกิดภาวะดังกล่าว แพทย์อาจจะต่อผ่าตัดทำคลอด
- ทารกแรกเกิดบางรายอาจเผชิญภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินออกมามากเกินไป และอาจทำให้ทารกมีอาการชักได้ อย่างไรก็ตาม การให้นมบุตรและการฉีดกลูโคสเข้าทางหลอดเลือดดำสามารถปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
- ตัวเหลือง ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำอาจส่งผลให้ทารกเกิดภาวะตัวเหลืองหลังคลอด ซึ่งอาจทำให้เด็กต้องเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล
- ทารกมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ
- ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้
- ทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะนี้จะมีโอกาสเป็นโรคอ้วน และอาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้
ผลของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต่อมารดา
- หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia) ได้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีความดันโลหิตสูงร่วมกับมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะมากกว่าปกติ พบในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์
ภาวะครรภ์เป็นพิษก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อมารดา และทารก วิธีเดียวที่จะหายจากภาวะครรภ์เป็นพิษ คือการคลอดทารกออกมา
หากคุณมีภาวะครรภ์เป็นพิษ และมีอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ แพทย์อาจพิจารณาให้คลอดก่อนกำหนด แต่ถ้าหากมีอายุครรภ์ไม่ถึง 37 สัปดาห์ แพทย์จะพิจารณาทางเลือกอื่นในการช่วยให้ทารกมีพัฒนาที่เป็นปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนที่ทารกจะคลอด
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้ต้องการการผ่าท้องคลอดมากขึ้น เพราะว่าทารกอาจตัวใหญ่เกินกว่าจะคลอดปกติ
- เมื่อเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในอนาคต
- การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น เบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy) โรคหัวใจ โรคไต การทำลายของเส้นประสาท เป็นต้น
- ภาวะน้ำคร่ำมาก ปริมาณน้ำคร่ำในมดลูกที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และอาจเกิดปัญหาอื่น ๆ ขึ้นในระหว่างคลอดได
- เบาหวานหลังคลอด ผู้ที่เคยเผชิญภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นเบาหวานอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์ลูกคนต่อไป และอาจป่วยด้วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 หลังคลอดได้ ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าว
ผลกระทบกับแม่
จะมีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย เพิ่มความเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง และโอกาศเกิดเบาหวานในอนาคต
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีผลอย่างไรกับทารก และคุณแม่
ผลกระทบกับทารก
อาจจะทำให้ทารกตัวโต คลอดก่อนกำหนด ต้องใช้วิธีผ่าตัดทำคลอด และมีปัญหาเรื่องเด็กเกิดมาพิการซึ่งพบได้ไม่มาก เด็กได้รับอุบัติเหตุระหว่าคลอด เด็กทารกมีภาวะน้ำตาลต่ำ