หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ข้อบงชี้ในการฉีดอินซูลิน ชนิดของอินซูลิน การดูดซึมของอินซูลิน วิธีการฉีดอินซูลิน
การฉีดอินซูลินนั้น แบ่งการฉีดได้หลายวิธี
วิธีการฉีด | ก่อนอาหารเช้า | ก่อนอาหารเที่ยง | ก่อนอาหารเย็น | ก่อนนอน |
1 | intermediate-acting | |||
2 | intermediate-acting+ short acting | |||
3 | intermediate-acting | intermediate-acting | ||
4 | intermediate-acting+ short acting | intermediate-acting+ short acting | ||
5 | short acting | short acting | short acting | long acting |
6 | infusion pump | |||
7 | intermediate-acting+ short acting | short acting | intermediate-acting+ | |
8 | intermediate-acting+ short acting | short acting | short acting | intermediate-acting+ |
การเลือกวิธีฉีดยา
การเลือกชนิดวิธีฉีดขึ้นกับโรคของผู้ป่วยและระดับน้ำตาล
จะเริ่มฉีดอินซูลินขนาดเท่าใด
กรณีที่อาจเกิดอันตรายจากการให้อินซูลินขนาดสูง เช่นคนแก่ หรือรูปร่างผอมควรเริ่มในขนาดน้อยก่อนคือ 10-20 ยูนิต/วัน โดยทั่วไปเริ่ม 0.6 ยูนิต/ก.ก./วัน
การปรับขนาดของอินซูลิน
ควรปรับขนาดของยาฉีดหลังจากฉีดไปแล้ว 3-7 วัน ควรแนะนำให้ฉีดวันละ 2 ครั้ง ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือดหรือปัสสาวะก่อนและหลังอาหารแต่ละมื้อเพื่อเป็นการช่วยพิจารณาในการปรับยา
ชนิดของอินซูลิน | เวลาที่ฉีด | เวลาที่ออกฤทธิ์สูงสุด | เวลาที่ควรเจาะเลือด |
Short-acting | ก่อนอาหาร | ระหว่างมื้อนั้นและมื้อถัดไป | 1-2 ชม.หลังอาหารมื้อนั้น และก่อนอาหารมื้อถัดไป |
Intermediate-acting | ก่อนอาหารเช้า | ระหว่างมื้อกลางวันและมื้อเย็น | ก่อนอาหารเย็น |
ก่อนอาหารเย็น | ระหว่างเที่ยงคืน และเช้า | ก่อนอาหารเช้า | |
ก่อนนอน | ระหว่างตี 4 และเช้า | ก่อนอาหารเช้า | |
Long-acting | ก่อนอาหารเช้าหรือก่อนนอน | ก่อนอาหารเช้า |
การออกกำลังกาย
โดยทั่วไปไม่ควรฉีดอินซูลินบนอวัยวะที่ใช้ในการออกกำลังกาย เช่น หากท่านจะวิ่งควรเลือกฉีดที่แขน หรือท้อง เนื่องจากบริเวณที่ออกกำลังจะดูดซึมอินซูลินได้ดีเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
การเลือกเข็มฉีดยา
กระบอกฉีดยาและมียาอยู่ในกระบอก ข้อดีสะดวกพกพาติดตัวได้ เข็มมีขนาดเล็กฉีดไม่ค่อยเจ็บ ไม่เปลืองยา ฉีดได้หลายครั้ง แต่ราคายาจะแพงกว่า | |
หัวเข็มสวมกับกระบอกฉีดยาข้อเสียเปลืองยาเนื่องจากยาส่วนหนึ่งคงเหลือในหัวเข็ม เข็มมีขนาดใหญ่ ฉีดเจ็บ | |
หัวเข็มติดกับกระบอกฉีดยา ข้อดีคือเข็มมีขนาดเล็กฉีดไม่เจ็บไม่เปลืองยา |
มีทั้งพลาสติกและหลอดแก้ว ปัจจุบันนิยมใช้แบบพลาสติก ซึ่งมีหัวเข็มชนิดเปลี่ยนได้และชนิดหัวเข็มติดกับกระบอกฉีด สามารถใช้ได้หลายครั้ง หลังใช้ให้ครอบปลายเข็มและเก็บไว้ในตู้เย็น
Insulin reaction
ผลแทรกซ้อนจากการฉีดอินซูลินคือภาวะน้ำตาลต่ำ hypoglycemia บางท่านเรียก อินซูลินช็อก ซึ่งอาจจะเกิดจาก ได้รับอินซูลินมากไป หรือรับประทานอาหารน้อยไป หรือออกกำลังกายมากเกินไป ท่านผู้อ่านที่ฉีดอินซูลินควรจะต้องรู้อาการและการรักษาเบื้องต้นและจะต้องพกอาหารว่าง เช่น ขนมปัง หรือน้ำผลไม้ หรือลูกอมติดตัวไว้
ผลข้างเคียงของการฉีดอินซูลิน
การใช้อินซูลิน
ข้อบงชี้ในการฉีดอินซูลิน ชนิดของอินซูลิน การดูดซึมของอินซูลิน การบริหารอินซูลิน การผสมอินซูลินวิธีการฉีดอินซูลิน
หลักการรักษา
การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง