Alkaline phosphatase( ALP) ค่าสูงและต่ำบ่งบอกโรคอะไร
Alkaline phosphatase เป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการเอา phosphatase ออกมา เอนไซม์พบได้ในหลายอวัยวะ แต่พบมากในตับ ท่อน้ำดี และในกระดูก
- Alkaline phosphatase มาจากตับ นับว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดของ ALP
- Alkaline phosphatase มาจากกระดูก นับว่าเป็นแหล่งรองลงมา
- Alkaline phosphatase มาจากเยื่อเมือกภายในลำไส้เล็ก (intestinal mucosa) นับเป็นจำนวน ALP ต่ำลงมา
- ส่วนน้อยมาจาก ไต และรก ของสตรีมีครรภ์ จึงไม่มีชื่อเป็นการเฉพาะ
- เนื่องจาก ที่มาจากตับ และเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนใหญ่ของ ALP ดังนั้น โรคใด ๆ ที่กระทบต่อตับ จึงย่อมมีผลทำให้ ALP มีค่าสูงขึ้นเสมอ เช่น โรคมะเร็งตับ (hepatic tumor) ยาที่เกิดพิษต่อตับ หรือตับอักเสบ (hepatitis) ไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดก็ตาม
- Alkaline phosphatase จากกระดูกก็เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์รวม ALP ที่อาจมีค่าสูงขึ้น หากมีโรคเกิดขึ้นแก่กระดูก เช่น การใช้ยารักษากระดูกหัก หรือเกิดโรคไขข้ออักเสบ โรคมะเร็งขอกระดูก ที่อาจแพร่กระจายมาจากมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ในสตรีที่ตั้งครรภ์ ค่า ALP ก็อาจสูงขึ้นได้ เพราะรกก็มีส่วนสร้าง ALP ด้วยเช่นกัน
- ในร่างกายคนที่มีเลือดหมู่ B หรือ หมู่ O มักจะมีค่า ALP สูงกว่าปกติเล็กน้อย
- ยาบางตัวอาจมีผลต่อค่า ALP ให้สูง/ต่ำ กว่าที่ควรจะเป็นได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาคุมกำเนิด ยาแก้อักเสบ ยาเพิ่มฮอร์โมน ยาคลายเครียด (tranquilizer) ยาคลายกังวล ฯลฯ
ประโยชน์ของการตรวจ ALP
เป็นการตรวจเพื่อตรวจโรคเกี่ยวกับ
- โรคตับ
- โรคกระดูก
- โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
- โรคเกี่ยวกับท่อน้ำดี (biliary disease)
- สภาวะการขาดวิตามิน ดี
วิธีการตรวจ
การตรวจทำได้โดยการเจาะเลือดบริเวณข้อศอก ไม่จำเป็นต้องงดอาหาร
ค่าปกติของ ALP : 30 – 120 U/L
ค่าผิดปกติ
น้อยกว่าปกติ สาเหตุ
- อาจขาดสารอาหารโดยเฉพาอย่างยิ่ง คือ โปรตีน
- ขาดแมกนีเซียม
- ขาดวิตามินซี
- โรคโลหิตจางชนิดร้ายแรง
- Hypophosphatasia
- Wilson's disease
มากกว่าปกติ สาเหตุ
- โรคตับแข็งในระยะต้น
- สภาวะการอุดตันของท่อน้ำดี
- นิ่วในถุงน้ำดี
- โรคมะเร็งตับในระยะต้น หรือระยะแพร่กระจาย
- โรคมะเร็งแพร่กระจายไปสู่กระดูก (metastatic tumor to bone)
- อยู่ในระยะตั้งครรภ์ตามปกติ อายุครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
- โรคไขข้ออักเสบ (rheumatoid arthritis)
- ลำไส้ขาดเลือดเฉพาะที่ (intestinal ischemia) หรือขาดเลือดจนเนื้อเยื่อลำไส้ตาย (intestinal infarction)
- สภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction)
- โรคกระดูก
- โรคตับ
- รับประทานอาหารมัน
- ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมาก Hyperparathyroidism
- โรคมะเร็ง
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- Sarcoidosis
ปัจจัยที่มีผลต่อการตรวจ
- ยาบางชนิดอาจจะมีผลต่อตับ เช่นยาปฏิชีวนะ ยาคุมกำเนิด ยาแอสไพริน ยารักษาเบาหวาน
- วัยทองซึ่งจะมีค่า ALP สูงกว่าคนทั่วไป
- เด็กจะมีค่า ALPสูงกว่าผู้ใหญ่
- ดื่มสุรา
Albumin | Globulin | Alkaline phosphatase | AST | ALT | Bilirubin | การแข็งตัวของเลือด | Gamma Glutamic Transpeptidase | lactic dehydrogenase test | การตรวจการทำงานของตับ
เรียบเรียงวันที่ 21/1/2566
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว