น้ำดี Total bilirubin


กระบวนการสร้างน้ำดี

กระบวนการสร้างน้ำดีเริ่มต้นจากเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ(ปกติอายุประมาณ 120 วัน)หรือเม็ดเลือดแดงที่เสียหาย ม้ามจะจับเม็ดเลือดแดงดังกล่าวและสลายจะได้สารออกมาสองส่วนได้แก่ globinซึ่งจะนำไปใช้ได้ต่อ อีกส่วนหนึ่งจะได้สารที่มีธาตุเหล็กเรียกว่า heme ซึ่งจะจับกับโปรตีน Albumin ในเลือดสารดังกล่าวไม่ละลายน้ำ เรียกว่า Indirect bilirubin ซึ่งสามารถจับตามเนื้อเยื่อของร่างกายเช่น สมอง ตา เยื่อบุปาก

เมื่อ Indirect bilirubin ลอยไปถึงตับจะจับกับสาร glucuronic acid โดยมีเอนไซม์ในตับที่เรียกว่า glucuronyltransferase เป็นตัวเชื่อมทำให้ได้ bilirubin ที่ละลายน้ำได้เราเรียก Direct bilirubin หรือ conjugated bilirubin

Direct bilirubin หรือ conjugated bilirubin จะไหลลงไปยังท่อน้ำดีและลงสู่ลำไส้ น้ำดีบางส่วนจะถูกดูดซึมนำมาใช้ให่ ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางอุจาระซึ่งจะให้สีเหลืองแก่ปัสสาวะ

เมื่อไรแพทย์จึงจะส่งตรวจน้ำดี

การตรวจนี้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจการทำงานของตับ แพทย์จะสั่งตรวจเมื่อมีอาการของโรคตับ หรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคตับ

อาการตัวเหลืองตาเหลืองจะตรวจพบได้เมื่อค่า Total bilirubin=2-3 mg/dL โดยจะตรวจพบที่ลิ้นและตา ส่วนปัสสาวะเข้มจะพบในผู้ป่วยที่มี Direct bilirubin หรือ conjugated bilirubin สูง

นอกจากนั้นจะต้องเจาะเลือดอื่น เช่น AST ALT Alkaline phosphatase Albumin การตรวจเม็ดเลือดแดง

เพื่อประกอบการแปลผล

ค่าปกติ

ปกติการรายผลจะรายงานผลดังนี้

  1. Total bilirubin เป็นผลรวมของ Indirect bilirubin กับ Direct bilirubin
  • ผู้ใหญ่ Total bilirubin : 0.3 – 1.0 mg/dL
  • ทารก  Total bilirubin : 2.0 – 12.0 mg/dL
  1. Direct bilirubin : 0.1 – 0.3 mg/dL
  2. Indirect bilirubin ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์โลหิตโดยทั่วไป จะตรวจหาค่าจริง ๆ เฉพาะค่า Total bilirubin และค่า direct bilirubin เท่านั้น ฉะนั้น หากต้องการทราบค่า indirect bilirubin ก็ใช้การเอาค่า Direct bilirubin ลบออกจาก Total bilirubin

ความผิดปกติ

ค่าน้อยมักจะไม่เป็นปัญหาจะไม่นำมากล่าว

ค่าที่สูงกว่างปกติ

ในการพิจารณาว่าค่า bilirubin ที่เพิ่มจะต้องแยกว่าเป็นชนิด indirect bilirubin หรือ Direct bilirubin เนื่องจากสาเหตุต่างกัน

1Indirect bilirubin หรือ Unconjugated hyperbilirubinemia สูง

มีการแตกของเม็ดเลือดแดง

  • มีการแตกของเม็ดเลือดแดง hemolysis เช่นจากยา หรือการติดเชื้อเช่นมาลาเรีย
  • ขบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้น เช่น thalassemia , megaloblastic anemia, พิษจากสารตะกั่ว lead poisoning.

ทั้งสองภาวะหากเกิดขึ้นนานจะเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี และมีอาการทำสำคัญคือภาวะโลหิตจาง

เกิดเนื่องจากเลือดเข้าตับช้าทำให้ไม่สามรถเปลี่ยน indirect bilirubin ให้เป็น Direct bilirubin ได้แก่ภาวะ

  • หัวใจวาย
  • ตับแข็ง มีพังผืดในตับมากทำให้เลือดเข้าช้า นอกจากนั้น เนื่องจากตับแข็งจะมีความดันหลอดเลือดในตับสูงทำให้หลอดเลือดมีการโป่งพอง และมีการเชื่อต่อของหลอดเลือดไม่ผ่านตับ
  • ยาบางชนิด

เกิดจากมีความผิดปกติของเอนไซม์ในตับเช่น

2Direct bilirubin หรือ Conjugated hyperbilirubinemia สูงมีสาเหตุ

  • ตับอักเสบ Hepatitis จากสาเหตุต่างๆเช่นการติดเชื้อไวรัส สุรา ยา
  • โรคของตับเช่น
    • Amyloidosis
    • Lymphoma
    • Sarcoidosis
    • Tuberculosis
  • มีการอุดตันของท่อน้ำดี Biliary obstruction จากภาวะ
    • มะเร็ง Malignancies เช่น มะเร็งท่อน้ำดี cholangiocarcinoma มะเร็งตับอ่อน pancreatic cancer
    • ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง Chronic pancreatitis (pseudocysts, stricture)
    • ตับอ่อนอักเสบ
    • Primary sclerosing cholangitis (PSC; discussed further below)
    • นิ่วในท่อน้ำดี Choledocholithiasis
    • ต่อน้ำดีตีบหลังการผ่าตัด
    • Choledochal cysts
    • Biliary atresia
  • การติดเชื้อ ที่ทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลืองได้แก่
    • ติดเชื้อไวรัส CMV
    • การติดเชื้อพยาธิ์
    • ท่อน้ำดีอักเสบ
    • ถุงน้ำดีอักเสบ
  • โรคทางพันธุกรรม Inherited disorders
    • DJS
    • Rotor syndrome
  • Primary biliary cirrhosis
  • Benign recurrent intrahepatic cholestasis
  • โรคเอดส์
  • Wilson disease
  • Drugs มียาหลายชนิดที่ทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง เช่น
  • ภาวะอื่นได้แก่
    • โลหิตเป็นพิษ Sepsis
    • ความดันโลหิตต่ำ Shock
    • ภาวะเหล็กเกาะที่ตับ Hemochromatosis

Albumin | Globulin | Alkaline phosphatase | AST | ALT | Bilirubin | การแข็งตัวของเลือด | Gamma Glutamic Transpeptidase | lactic dehydrogenase test | การตรวจการทำงานของตับ