หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการทำงานของตับจะตรวจ ALT ย่อมาจากคำว่า "alanine aminotransferase" หรือ SGPTในการเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของตับมักจะเจาะเลือดตรวจค่าเอนไซม์อีกตัวหนึ่งคือ AST ผลเลือดที่ผิดปกติจะเกิดเมื่ออวัยวะบางแห่งของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ไต หัวใจ หรือกล้ามเนื้อ ได้รับอันตรายจากการติดเชื้อเช่น ตับอักเสบ สารพิษ ยา ไขมันพอกตับ
ความสำคัญของการเจาะเลือด ALT
หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคตับ เช่น การดื่มสุราเรื้อรังหรือปริมาณมากเกินไป การได้รับยาหรือสารเคมีที่มีพิษต่อตับ การได้รับยาหรือสมุนไพรบางชนิดติดต่อเป็นเวลานาน หรือปริมาณมากเกินไป ปัจจัยดังกล่าวทำให้ตับถูกทำลายและเกิดโรคตับซึ่งอาจจะไม่มีอาการหรือมีอาการของโรคตับก็ได้ เอนไซม์ ALT ใช้ช่วยตรวจคัดกรอง วินิจฉัยภาวะโรคตับ โดย ALT เป็นเอนไซมชนิดหนึ่งที่่พบได้ในเซลล์ตับ และสามารถพบได้ในเซลล์อื่นๆเช่นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจหัวใจ เซลล์กล้ามเนื้อในปริมาณเล็กน้อย ดังนั้นค่า ALT ที่ตรวจพบในกระแสเลือดจึงเกิดจากเซลล์ตับ สำหรับในผู้สุขภาพดี จะพบค่า ALT ในเลือดน้อยมาก แต่หากเซลล์ตับถูกทำลายหรืออักเสบจะมีเอนไซม์ ALT จากตับออกมาที่กระแสเลือดปริมาณมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะสั่งตรวจวัดควบคู่กับค่าเอนไซม์ตับตัวอื่นๆด้วยเพื่อประเมินร่วมกัน คือ AST, bililubin, ALP
เมื่อไรแพทย์จะสั่งเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ
แพทย์จะสั่งตรวจเลือดการทำงานของตับเมื่อมีอาการหรืออาการแสดงว่าเป็นโรคตับ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ
ค่าปกติเท่ากับ 0 – 48 U/L (หน่วย ยูนิตต่อลิตร)
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนของAST : ALT ตามชื่อผู้ค้นคว้าคนแรกนี้ว่า "DeRitis Ratio"
De Ritis Ratio Decision Limit | ||||
---|---|---|---|---|
โรคหรือสุขภาพ | <1.0 | 1.0 to <1.5 | 1.5 to <2.0 | ≥ 2.0 |
แข็งแรง | ผู้หญิง (up to 1.7) | เด็ก | ทารก | |
Men (up to 1.3) | ||||
ไวรัสตับอักเสบ | กำลังดีขึ้น | แย่ลง | ตับวาย | |
ตับอักเสบจากสุรา | กำลังดีขึ้น | ติดสุรา | ตับอักเสบเฉียบพลัน | |
โรคตับเรื้อรัง | คงที่ | เสี่ยงต่อการเกิดพังผืด | Other Causes | |
โรคกล้ามเนื้อ | เรื้อรัง | กำลังดีขึ้น | เฉียบพลัน |
ค่าปกติของ ALT 20 - 140 IU/L (international units per liter)
โรคหรือภาวะที่ทำให้ ALT สูงได้แก่
Albumin | Globulin | Alkaline phosphatase | AST | ALT | Bilirubin | การแข็งตัวของเลือด | Gamma Glutamic Transpeptidase | lactic dehydrogenase test | การตรวจการทำงานของตับ
ทบทวนวันที่ 21/1/2566
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว