ยาขับปัสสาวะ Furosemide

ยานี้เป็นยาขับปัสสาวะ ทำให้ไตขับน้ำส่วนเกินและเกลืออกมากับปัสสาวะ ใช้ลดความดันโลหิตและภาวะบวมน้ำที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ

ก่อนจะใช้ยาท่านจะต้องรู้ผลข้างเคียงที่อันตรายหากเกิดขึ้นจะต้องหยุดยาและไปโรงพยาบาลทันทีได้แก่อาการ แพ้ยาซึ่งจะมีอาการผื่นลมพิษ หายใจลำบาก บวมใบหน้า บวมริมฝีปาก ลิ้นและคอ

หากเกิดอาการต่อไปนี้ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์

  • หูบอดหรือมีเสียงดังในหู
  • หิวน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะไม่ออก
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ผิวซีด มีเลือดออกเช่นเลือดกำเดา มีประจำเดือน ถ่ายเป็นเลือด มีจ้ำเลือด
  • รู้สึกมึนงง

 

ก่อนใช้ยา Furosemide ต้องระวังอะไรบ้าง

  • ประวัติการแพ้ยา
  • แจ้งแพทย์และเภสัชหากท่านมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคไต โรคตับ ปัญหาเกี่ยวกับปัสาวะ โรคเก๊าต์
  • หากท่านเป็นโรคเบาหวานการรับประทานยา Furosemide อาจจะทำให้น้ำตาลท่านสูงขึ้น
  • ยา Furosemide จะทำให้ระดับโปแทสเซี่ยมในเลือดท่านต่ำลง ควรจะรับประทานอาหารที่มีโปแทสเซี่ยมสูง
  • แจ้งแพทย์หากท่านตั้งครรภ์หรือกำลังเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง
  • มีปัญหาโรคไต หรือปัสสาวะลำบาก
  • ต่อมลูกหมากโต
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • เคยมีปัญหาโซเดี่ยมหรือโปแทสเซี่ยมต่ำ

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Furosemide

  • ภาวะบวมซึ่งเกิดจากโรค หัวใจวาย ตับแข็ง โรคไต
  • ความดันโลหิตสูง

ขนาดยาและวิธีการใช้ยา

  • ให้รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด
  • ปกติแพทย์จะสั่งให้รับประทานตอนเช้าจะก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ในกรณีที่ต้องเดินทางและไม่อยากจะเข้าห้องน้ำ แนะนำให้เลื่อนมาตอนบ่ายก็ได้ แต่อย่าไปรับประทานใกล้ค่ำเนื่องจากจะปัสสาวะบ่อย
  • หากลืมรับประทานยา ให้รีบรับประทานทันที่ทีนึกได้ แต่ไม่ควรจะรับประทานตอนค่ำเนื่องจากจะทำให้ปัสสาวะตอนกลางคืน

ภาวะบวม

  • ผู้ใหญ่ ขนาดยาที่ให้ 20-80 มิลิกรัมให้ครั้งเดียว อาจจะให้ซ้ำอีกครั้งหลังจากให้ครั้งแรก6-8ชั่วโมงโดยเพิ่มยา20-40 มิลิกรัม อาจจะให้ได้ถึง 600 มิลิกรัมต่อวัน หากได้รับยามากกว่า 80 มิลิกรัมต่อวันเป็นระยะเวลานานต้องเจาะเลือดประเมินการทำงานของไตและเกลือแร่
  • ผู้สูงอายุ ควรจะเริ่มด้วยยาที่มีขนาดต่ำและเพิ่มทีละน้อย

ความดันโลหิตสูง

  • ผู้ใหญ่ให้ 40 มิลิกรัมวันละ 2 ครั้ง หากใช้ร่วมกับยาอื่นต้องระวังความดันจะต่ำ อาจจะต้องลดยาเดิมลงร้อยละ 50
  • ผู้สูงอายุควรจะเริ่มด้วยยาที่มีขนาดต่ำและเพิ่มทีละน้อย

ผลข้างเคียงของยา

ระบบทางเดินอาหาร

  1. ตับวายในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอยู่ก่อน 
  2. ตับอ่อนอักเสบ
  3. ดีซ่าน
  4. ค่าเอนไซม์ของตับสูงขึ้น
  5. เบื่ออาหาร
  6. ระคายเคืองต่อปากและกระเพาะอาหาร
  7. ตะคริว cramping
  8. ท้องร่วง
  9. ท้องผูก
  10. คลื่นไส้
  11. อาเจียน

ปฏิกิริยาภูมิแพ้

  1. แพ้อย่างรุนแรง
  2. หลอดเลือดอักเสบ  vasculitis
  3. ไตอักเสบ interstitial nephritis
  4. หลอดเลือดแดงอักเสบ

ระบบประสาทส่วนกลาง

  1. มีเสียงดังในหูและหูดับ
  2. ชาปลายมือปลายเท้า
  3. เวียนศีรษะ vertigo
  4. ปวดศีรษะ
  5. ตามัว

ระบบโลหิต

  1. โลหิตจางชนิด aplastic anemia
  2. เกล็ดเลือดต่ำ thrombocytopenia
  3. เม็ดเลือดขาวต่ำ agranulocytosis
  4. เม็ดเลือดแดงแตกhemolytic anemia
  5. โลหิตจาง Anemia
  6. Eosinophilia

แพ้ยาที่แสดงออกทางผิวหนัง

  1. toxic epidermal necrolysis
  2. Stevens-Johnson Syndrome
  3. erythema multiforme
  4. Photosensitivity
  5. Rash
  6. Pruritis
  7. Urticaria

หัวใจและหลอดเลือด

  1. ความดันโลหิตต่ำ
  2. เพิ่ม cholesterol และ triglyceride ในเลือด

ผลกระทบอย่างอื่นๆ

  1. น้ำตาลในเลือดสูง hyperglycemia
  2. มีน้ำตาลในปัสสาวะ
  3. กรดยูริกสูง hyperuricemia
  4. อ่อนแรง
  5. Restlessness

การใช้ยา Furosemide ร่วมกับยาอื่นจะเกิดผลเสียอะไรบ้าง

  • หากใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ aminoglycoside จะทำให้เกิดเป็นพิษต่อหู ดังนั้นไม่ควรใช้ร่วมกัน
  • ยา cisplatin ซึ่งจะทำให้เกิดพิษต่อหูเพิ่มขึ้น
  • ยา ethacrynic acid ซึ่งจะทำให้เกิดพิษต่อหูเพิ่มขึ้น
  • ยา Lithium เพราะจะเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจาก Lithium เพิ่มขึ้น
  • เมื่อใช้ยาร่วมกับ  angiotensin converting enzyme inhibitors จะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ และอาจจะทำให้เกิดไตเสื่อม
  • ยาแก้โรคกระเพาะอาหาร sucralfate จะลดประสิทธิภาพของยา furosemide ดังนั้นจะต้องหมันวัดความดันโลหิต
  • ยากันชัก Phenytoin จะลดการดูดซึมของยา furosemide
  • เมื่อใช้ร่วมกับยากลุ่ม NSAIDs อาจจะทำให้ไตเสื่อมและมีโปแทสเซี่ยมในเลือดสูงขึ้น

ข้อควรระวังเมื่อใช้ยา Furosemide

เนื่องจาก Furosemide เป็นยาที่ขับปัสสาวะได้มากดังนั้นจะต้องเฝ้าระวังภาวะขาดน้ำ ซึ่งหากขาดมากอาจจะทำให้ความดันโลหิตต่ำลง นอกจากนั้นก็อาจจะมีปัญหาเรื่องความสมดุลของเกลือแร่ โดยเฉพาะเกลือแร่โปแทสเซี่ยมซึ่งมักจะต่ำ hypokalemia เกลือโซเดี่ยมต่ำ hyponatremia, ซึ่งมักจะมีอาการกระหายน้ำ ปากแห้ง อ่อนเพลีย เป็นตะคริว ซึมลง ปัสสาวะออกน้ย ใจสั่น คลื่นไส้อาเจียน

สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องปัสสาวะลำบากเช่น ต่อมลูหมากโตการได้ยาขับปัสสาวะอาจจะทำให้การถ่ายปัสสาวะลำบากเพิ่มมากขึ้น

สำหรับผู้ที่แพ้ sulfonamide อาจจะแพ้ยาขับปัสสาวะ furosemide

เมื่อใช้ยาขับปัสสาวะจะต้องเจาะลือดตรวจอะไรบ้าง

ความปลอดภัยสำหรับคนตั้งครรภ์

ยานี้จัดอยู่ในกลุ่ม C

ยานี้ขับออกทางน้ำนมดังนั้นควรต้องระวังในการให้ผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ข้อห้ามใช้

  • ผู้ที่ไม่มีปัสสาวะเลย
  • แพ้ยา

Thiazide | Furosemide | Indapamide | Spironolactone | Moduretic