ยา5กลุ่มที่เป็นสาเหตุตับอักเสบ
เอนไซม์ของตับเป็นสารเคมีที่อยู่ในตับเมื่อเซลล์ของตับได้รับอันตรายก็จะมีการหลั่งเอนไซม์ออกจากเซลล์ตับ สาเหตุที่ทำให้ค่าเอนไซม์ตับสูงได้แก่
1ผลข้างเคียงของยา
ยาบางประเภทอาจจะทำให้ค่าเอนไซม์ของตับเพิ่ม ท่านที่รับประทานต้องเฝ้าดูอาการว่ามีอาการของตับอักเสบหรือไม่ยาดังกล่าวได้แก่
1.1ยาแก้ปวด
ยากันชัก
1.2ยาปฏิชีวนะ
1.4ยารักษาโรคหัวใจ
1.5ยาอื่นๆ
- ยาต้านโรคซึมเศร้า Antidepressant drugs of the tricyclic type
เมื่อหยุดยาที่ทำให้ค่าเอนไซม์ขึ้นประมาณเป็นสัปดาห์หรือเดือนค่าจะกลับสู่ปกติ
2โรคหรือภาวะอื่นๆที่ทำให้ค่าเอนไซม์ขึ้น
- ไวรัสตับอักเสบ
- ตับอักเสบหรือถูกทำลายจากยา เช่น รับประทานพาราเซตตามอลเกินขนาด หรือรับประทานเห็ดพิษ
- ตับเสียหายจากขาดเลือดเนื่องจากความดันโลหิตต่ำ
สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เอนไซม์ของตับขึ้นสูงขึ้น
- Hemachromatosis เป็นโรคทางพันธุกรรมทำให้เหล็กสะสมในตับหากไม่รักษาจะกลายเป็นโรคตับแข็ง
- Wilson's disease เป็นโรคทางพันธุกรรมมมีการสะสมของทองแดงในตับและสมอง
- alfa-1-antitrypsin deficiency
- โรคภูมิคุ้มกันตัวเองทำให้ตับอักเสบ Autoimmune hepatitis
- Celiac disease (celiac sprue) ลำไส้อักเสบจากการแพ้อาหาร
- Crohn's disease and ulcerative colitis ลำไส้อักเสบ
- การติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ
- การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อพยาธิ์ชนิดอื่นๆ
- มะเร็งของตับ หรือมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่ตับ
- เนื้องอกของตับ
การค้นหาสาเหตุสำหรับผู้ที่ไม่มีอาการแต่ค่าเอนไซม์สูงกว่าปกติ
สำหรับท่านที่เช็คสุขภาพ หรือตรวจตับพบว่ามีค่าเอนไซม์สูงโดยที่ไม่มีอาการ การค้นหาเหตุจะต้องพิจารณาเป็นรายๆขึ้นกับประวัติส่วนบุคคล การเจ็บป่วย การค้นหาจะต้องอาศัย
- ประวัติการใช้ยา
- ประวัติการดื่มสุรา
- ประวัติการมีเพศสัมพันธ์
- ประวัติการได้รับเลือด
- ประวัติการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
- ประวัติโรคประจำครอบครัว
นอกจากนั้นจะต้องเฝ้าดูว่ามีอาการของโรคตับหรือไม่ เช่น
- ตัวเหลืองตาเหลือง
- เลือดออกง่าย หรือหยุดยาก
- ท้องมาน
- ตับม้ามโต
- สับสน
- คันตามตัว
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
แนวทางการจัดการ
- แนวทางการจัดการทั่วไป
- ลดหรืองด สาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
- พบแพทย์พร้อมแจ้งสาเหตุที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับท่าน ดังข้อมูลข้างต้นทั้งหมด เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ เช่น พฤติกรรมเสี่ยงการเกิดตับอักเสบ การได้รับยา สมุนไพร หรือวิตามินชนิด ขนาด ระยะเวลาที่รับประทาน เป็นต้น
- หากท่านมีค่าเอนไซม์ตับสูงเล็กน้อยถึงปานกลาง คือ สูงขึ้นน้อยกว่า 2 เท่าของค่าสูงสุดค่าปกติ
- ให้พิจารณาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำ ภายใน 6 เดือนหลังจากนั้น ซึ่งหากสงสัยเกิดจากแอลกอฮอล์ หรือยา สมุนไพร์เป็นสาเหตุให้หยุดการดื่มแอลกอฮอล์ ยา หรือสมุนไพร ในช่วงเวลานั้นๆตลอดระยะเวลารักษา และประเมินซ้ำ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ควบคุมน้ำหนัก รักษาโรคประจำตัวให้อยู่ในค่าเป้าหมายเช่นเบาหวาน
- หากท่านมีค่าเอนไซม์ตับสูงมากกว่า 2 เท่าของค่าสูงสุดค่าปกติ พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป
- หากท่านมีอาการต่อไปนี้ให้พบแพทย์ทันที
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ท้องบวมมาก
- อาการซึม เพอ มือสั่น ไม่รู้สึกตัว หมดสติ (Encephalopathy)
ข้อควรทราบ
- หากมีข้อสงสัยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- ผลการประเมินค่าทางห้องปฏิบัติการนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานความเป็นไปได้ ซึ่งต้องมีการตรวจผลทางห้องปฏิบัติการซ้ำเพื่อยืนยัน พร้อมทั้งวินิจฉัยควบคู่กับค่าผลตรวจ AST และค่าเอนไซม์ตับอื่นๆร่วมด้วยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ
- กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านกำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากผลการตรวจผิดพลาดจากความเป็นจริงได้
Albumin | Globulin | Alkaline phosphatase | AST | ALT | Bilirubin | การแข็งตัวของเลือด | Gamma Glutamic Transpeptidase | lactic dehydrogenase test | การตรวจการทำงานของตับ
เรียบเรียงวันที่ 25/1/2566
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว