หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอายุกลางคนขึ้นไปควรแนะนำให้กระฉับกระเฉง ทำงานบ้านให้มาก ใช้การเดินแทนการนั่งรถหากระยะทางไม่ไกล ขึ้นบัดไดแทนการขึ้นบันไดเลื่อน ก่อนออกกำลังกายควร warm-up 5-10 นาทีโดยการเดินหรือขี่จักรยาน ตามด้วยการยืดกล้ามเนื้อและเอ็น หลังจากนั้นให้ออกกำลังกายบริหารโดยการวิ่ง หรือเดินเร็วๆ 30 นาที หลังจากออกกำลังกายให้ cool-down อีก5-10 นาทีและยืดกล้ามเนื้ออีก5-10 นาที ควรเลือกรองเท้าให้เหมาะสมเพื่อป้องกันแผล ใส่ถุงเท้าเพื่อป้องกันเท้าพอง ให้ดื่มน้ำประมาณ ครึ่งลิตรก่อนออกกำลังกาย
การออกกำลังกายควรจะปรับตามสภาพ และความต้องการของผู้ป่วย ควรจะเริ่มออกกำลังกายแต่น้อยอย่างสม่ำเสมอ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ค่อยๆเพิ่มระยะเวลาและความหนักของการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายช่วงเวลา 16.00 น.จะทำให้น้ำตาลตอนเช้าลดลง ถ้าออกกำลังกายหลังอาหารจะลดน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานอาหาร [postpandrial hyperglycemia]
ควรออกกำลังโดยการเดิน ขี่จักรยาน วิ่ง วิ่งอยู่กับที่ ว่ายน้ำ แอร์โรบิค ขึ้นกับสภาพของผู้ป่วย การขี่จักรยานและว่ายน้ำเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปลายประสาทอักเสบ อาจยกน้ำหนักเบาๆเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเลือกวิธีออกกำลังกาย
สำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังมาก่อน การออกกำลังควรจะเริ่มจากเบาแล้วไปหามาก โดยเริ่มออกอย่างเบาคืออัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ระดับ 40%ของอัตราการเต้นสูงสุด เมื่อร่างกายแข็งแรงขึ้นจึงเพิ่มความหนักของการออกกำลังกาย เป็น 50 %, 60 %,70-80% ความหนักของการออกกำลังกายใช้อัตราเต้นสูงสุดของหัวใจเป็นเกณฑ์โดยทั่วไปการออกกำลังกายให้หัวใจเต้น 50%ของอัตราเต้นสูงสุดก็น่าจะได้ประโยชน์ แนะนำให้ออกกำลังจนหัวใจเต้นได้ 60-80%ของอัตราเต้นสูงสุด นั่นคือชีพขจรเป้าหมาย ผู้ป่วยที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายควรตั้งเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจต่ำ อีกวิธีหนึ่งเพื่อประเมินว่าออกกำลังกายได้พอหรือไม่โดยดูจากการมีเหงื่อออกแสดงว่าออกกำลังได้พอ
อัตราเต้นหัวใจสูงสุด= 220-อายุ ชีพขจรเป้าหมาย=ความหนักที่กำหนด(%)*(220-อายุ)
อัตราการเต้นหัวใจสูงสุดและการเต้นของหัวใจตามอายุและเป้าหมาย | |||||
อายุ | อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด | 40% Rate | 60% Rate | 80% Rate | 90% Rate |
20 | 200 | 80 | 120 | 160 | 180 |
25 | 195 | 78 | 117 | 156 | 175 |
30 | 190 | 76 | 114 | 152 | 171 |
35 | 185 | 74 | 111 | 148 | 166 |
40 | 180 | 72 | 108 | 144 | 162 |
45 | 175 | 70 | 105 | 140 | 157 |
50 | 170 | 68 | 102 | 136 | 153 |
55 | 165 | 66 | 99 | 132 | 149 |
60 | 160 | 64 | 96 | 128 | 144 |
65 | 155 | 62 | 93 | 124 | 140 |
ควรออกกำลังกาย 30-40 นาทีอย่างน้อย 20 นาที เริ่มต้นออกกำลังกายครั้งละ 5 นาทีค่อยๆเพิ่มครั้งละ1-2 นาทีทุก1-2สัปดาห์จนได้เป้าหมาย หากออกกำลังกายวันเว้นวันร่างกายก็แข็งแรง แต่ถ้าออกกำลัง5-6 ครั้งต่อสัปดาห์จะทำให้น้ำหนักลดได้
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย การประเมินก่อนออกกำลังกาย วิธีออกกำลังกาย อาหารและการออกกำลังกาย การตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย | การออกกำลังกายเมื่อมีโรคแทรกซ้อน |ผลออกกำลังในระยะยาว | ผลดีการออกกำลัง
หลักการรักษา
การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง