การประเมินร่างกายก่อนออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีโรคแทรกซ้อนทุกระบบของร่างกาย ก่อนออกกำลังกายจะต้องประเมินว่าผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง เพราะว่าโรคแทรกซ้อนแต่ละชนิด จะมีข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการออกกำลังกาย
โรคเบาหวานและการออกกำลังกาย
การประเมินผู้ป่วยเบาหวานก่อนออกกำลังกาย
เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่จะมีโรคแทรกซ้อน บางครั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อน โดยที่ไม่มีอาการ
และโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง หากเกิดขึ้นมาอาจจะอันตรายต่อชีวิต ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรได้รับการประเมิน หาภาวะแทรกซ้อนต่างๆก่อนออกกำลังกายดังต่อไปนี้คือ
- หัวใจและหลอดเลือด
[cardiovascular system] ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยง ในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดแดงตีบคือ
- อายุมากกว่า 35 ปี
- อายุน้อยกว่า 25 ปีถ้า เป็นเบาหวานชนิดที่สองมากกว่า
10 ปี หรือเป็นเบาหวานชนิดที่หนึ่งมากกว่า
15 ปี
- มีปัจจัยเสี่ยงต่อหลอดเลือดหัวใจตีบอื่นๆเช่น
สูบบุหรี่
ญาติสายตรงเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบก่อนวัย
ความดันโลหิตสูง ไขมัน HDL-Cholesterol ต่ำ
- มีโรคแทรกซ้อนของ microvascular ได้แก่ โรคแทรกซ้อนทางตา [diabetic
retinopathy] โรคแทรกซ้อนทางไต [diabetic nephropathy]
- มีโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ
- มีระบบประสาทอัตตาโนมัติเสื่อม
ผู้ป่วยดังกล่าวข้างต้นหากต้องการออกกำลังอย่างหนักควรได้มีการตรวจโดยการวิ่งบนสายพานเพื่อประเมินประสิทธิภาพของร่างกาย และหัวใจเพื่อวางแผนการออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่ต้องการออกกำลังกายโดยการเดินอาจจะไม่จำเป็นต้องวิ่งบนสายพาน สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ [ECG] ควรได้รับการตรวจหัวใจโดยการวิ่งบนสายพาน [exercise stress test ] เพื่อตรวจดูว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่
- โรคหลอดเลือดแดงขาตีบ [peripheral
arterial disease]
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาเวลาเดิน
พักแล้วจะหายปวด
ควรได้รับการประเมินหลอดเลือดแดงที่ขาก่อนออกกำลังกาย
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีอันตรายต่อเท้า
และควรสวมเครื่องป้องกันเท้า
ให้ออกกำลังโดยการเดิน
ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ
- โรคแทรกซ้อนทางตา [diabetic
retinopathy]
ควรได้มีการตรวจจอรับภาพก่อนออกกำลังกาย
และควรงดการออกกำลังบางประเภทที่ทำให้เกิดตาบอดเนื่องจาก
retinal detachment, vitreous hemorrhage ได้
- ผู้ป่วยที่เป็น mild nonproliferatve retinopathy ไม่จำกัดการออกกำลังกาย
- ผู้ป่วยที่เป็น moderate nonproliferatve retinopathy จำกัดการออกกำลังที่ทำให้ความดันโลหิตสูง
เช่น การยกน้ำหนัก การงัดข้อ การวิดพื้น
- ผู้ป่วยที่เป็น severe nonproliferatve retinopathy จำกัดการออกกำลังกายเช่น การยกน้ำหนัก การงัดข้อ การวิดพื้น การชกมวย
- ผู้ป่วยที่เป็น proliferatve retinopathy จำกัดการออกกำลังกาย การยกน้ำหนัก
การงัดข้อ การวิดพื้น การชกมวย การวิ่ง การเป่าเครื่องดนตรี ควรออกกำลังแบบเบาๆ เช่น การเดิน ว่ายน้ำ ขี่จักรยานอยู่กับที่
ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจตาทุกคนก่อนออกกำลังกาย
- โรคแทรกซ้อนทางไต [diabetic nephropathy]
ยังไม่มีข้อแนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคไต
- โรคปลายประสาทอักเสบ [peripheral neuropathy]
ผู้ป่วยที่มีปลายประสาทอักเสบเสียความรู้สึกสัมผัสที่ผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายดังต่อไปนี้
การวิ่ง เดินนานๆ การกระโดด
การออกกำลังโดยการขึ้นบันได
ควรออกกำลังโดย การว่ายน้ำ
การขี่จักรยาน
การออกกำลังโดยใช้แขน
การออกกำลังโดยใช้เก้าอี้
- ประเมินสภาพการคุมเบาหวานได้ดีเพียงใด
การออกกำลังกายโดยการเดิน
ว่ายน้ำ
ขี่จักรยานสามารถทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำได้นานถึง
12-24 ชั่วโมง
ดังนั้นควรเจาะหาน้ำตาลก่อนและหลังออกกำลังกายเพื่อดูการตอบสนองของน้ำตาลต่อการออกกำลังกาย
ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถออกกำลังได้เกือบทุกคน
แต่ต้องเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากอายุ โรคประจำตัว
- ผู้ที่มีปัญหาข้อเข่า ข้อเท้าหรือเท้าควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่มีแรงกระแทก
เช่นการวิ่ง กระโดดเชือก ควรจะออกกำลังโดยการว่ายน้ำ เดินในน้ำ รำมวยจีน
หรือทำกายบริหารในท่านั่งหรือยืน
- ผู้ที่เป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาเท้าไม่ควรที่จะวิ่งหรือกระโดด
ควรจะออกกำลังกายโดยการขี่จักรยาน
- ผู้ที่เบาหวานเข้าตาให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่ใช้แรงมาก เช่นการยกน้ำหนัก
หรือโยคะบางท่า
- ผู้ที่มีโรคหัวใจควรจะพบแพทย์ก่อนออกกำลังกาย การออกกำลังกายไม่ควรจะออกแบบออกแรงมากเช่น การยกน้ำหนัก