การป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบซ้ำ


โรคเส้นเลือดหัวใจตีบการป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบแบบทุติยภูมิ การป้องกันมิให้เส้นเลือดหัวใจตีบ ครั้งแรก เรียกการป้องกันปฐมภูมหรือ Primary prevention ส่วนการป้องกันมิให้เส้นเลือดหัวใจตีบ ครั้งที่สองเรียก Secondary prevention ส่วนใหญ่เป็นการค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ทางหลอดเลือด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแล้ว เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคซ้ำ การป้องกันทุติยภูมิมีประโยชน์ดังนี้


การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำ

  1. มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น
  2. มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  3. ลดการรักษาชนิดอื่น เช่น การผ่าตัด การทำ angioplastyผู้ป่วยทีเคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเป็นอัมพาตเมื่อไปพบแพทย์ ท่านต้องขอคำแนะนำในการปฏิบัติตามหัวข้อต่างๆดังนี้
  • บอกแพทย์ประจำตัวท่านว่าอยากเจาะหาระดับไขมันในเลือด พร้อมทั้งขอคำแนะนำว่าต้องอดอาหารกี่ชั่วโมง และถ้าไขมันในเลือดสูงควรใช้การควบคุมอาหารหรือการใช้ยาในการรักษา เรื่องไขมัน
  • ถามแพทย์ว่าจะออกกำลังกายอย่างไรดี ออกกำลังอาทิตย์ละกี่วัน วันละกี่นาที ออกแต่ละครั้งหนักแค่ไหน และสมควรออกกำลังแบบไหน รวมทั้งข้อระวังในการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย
  • ถามแพทย์ว่าน้ำหนักที่เหมาะสมควรเป็นเท่าใด ถ้าท่านมีน้ำหนักเกินให้แพทย์แนะนำตารางการรับประทานอาหาร และตารางในการออกกำลังกาย โรคอ้วน
  • ให้แพทย์วัดความดันทุกครั้ง และเรียนถามแพทย์ว่าความดันที่เหมาะสมควรเป็นเท่าใด ถามเกี่ยวกับผลขางเคียงของยา รวมทั้งการเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตเพื่อป้องกันความดันโลหิตสูง
  • ถามแพทย์ว่าสมควรกิน aspirin เพื่อป้องกันโรคหรือไม่
  • ถ้าอดบุหรี่เองไม่ได้ให้ปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางการอดบุหรี่
  • ไปตามแพทย์นัดอย่างเคร่งครัด และปรึกษาเรื่องดังกล่าวข้างต้น

การรักษาปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้แก่

  1. สูบบุหรี่ ให้เลิกสูบโดยเด็ดขาด 
  • แนะนำให้เลิกเด็ดขาด
  • ถ้าเลิกเองไม่ได้ให้ปรึกษาศูนย์อดบุหรี่
  1. การรักษาไขมันในโลหิตสูง 

สำหรับผู้ที่เคยมีหลอดเลือดหัวใจตีบมาแล้วควรจะควบคุมระดับไขมันให้ต่ำๆ โดยมีเป้าหมายคือระดับ   LDL <100 mg%,  HDL>50 mg%(female) และมากกว่า 40 mg%(male),  Triglyceride<150 mg%

  • ให้ควบคุมอาหารที่มีไขมันสูง
  • หลังเกิดโรคอัมพาตหรือโรคหัวใจให้เจาะเลือดตรวจหาระดับไขมันทุ 6 สัปดาห์จนกระทั่งได้ระดับที่ต้องการ
  • การให้ยารักษาจะให้ในกรณีต่อไปนี้

ระดับไขมัน LDL

การรักษา

LDL<100 mg%

ไม่ต้องให้ยา

LDL=100-130 mg%

คุมอาหารแล้วระดับไขมันไม่ลงพิจารณาให้ยา

LDL>130 mg%

ให้ยาลดไขมัน

HDL<35 mg%

ให้หยุดสูบบุหรี่,ลดน้ำหนัก,ออกกำลังกาย



  1. การออกกำลังกาย
  • เป้าหมายออกวันละ 30-60 นาที สัปดาห์ละ3-4 ครั้ง
  • ให้แพทย์แนะนำว่าจะออกกำลังกายได้แค่ไหนโดยการทำ Exercise test
  • ให้ทำงานบ้านหรือเดินขึ้นบันไดบ่อยๆ
  • การออกกำลังกายควรอยู่ในการดูแลของแพทย์

 อาการของการออกกำลังมากเกินไป

  • ปวดหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
  • ใจสั่น
  • เวียนศีรษะหรือคลื่นไส้
  • เหน็ดเหนื่อยอย่างมาก
  1. การคุมน้ำหนัก
  • รักษาให้น้ำหนักอยู่ในช่วงดัชนีมวลกาย 19-25 กก/ตารางเมตร
  • วัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนักรวมทั้งวัดรอบเอวและรอบสะโพกทุกปี
  • ดัชนีมวลกายมากกว่า 27 กก/ตารางเมตร หรือรอบเอวมากกว่า 40นิ้วสำหรับผู้ชาย 35 นิ้วสำหรับผู้หญิง ต้องให้การรักษา
  1. การให้ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด Antiplatelet agents/anticoagulants
  • ให้รับประทาน aspirin 80-325 mg วันละครั้ง
  • บางรายต้องให้ coumadine เพื่อคุมการแข็งตัวของเลือด
  1. การให้ยา Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors หลังโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ให้ในรายที่มีหัวใจวายหลังหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ให้รักษาในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตร่วมด้วย
  1. การให้ยา beta-blocker
  • ให้ในรายที่ยังมีอาการแน่นหน้าอก หรือหัวใจมีการเต้นผิดปกติ
  1. การควบคุมความดันโลหิต
  • ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชิวิต เพื่อป้องกันความดันโลหิต
  • ถ้าความดันมากกว่า 140/90 มม.ปรอทเป็นเวลา 6 เดือน หรือความดันโลหิตมากกว่า160/90 มม.ปรอท ก็เริ่มให้ยาลดความดันโลหิต
  1. การจัดการเรื่องความเครียด
  2. การดื่มสุรา การดื่มสุราปริมาณปานกลางจะป้องกันโรคหัวใจ แต่การดื่มสุราเป็นปริมาณมากจะทำให้ความดันโลหิตสูงและกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
  3. การรักษาโรคเบาหวาน

การป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำ

เพิ่มเพื่อน