หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
เนื่องจากไตเสื่อมในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการทำให้ผู้ป่วยไม่ตระหนักถึงผลที่ตามมา ผู้ที่ไตเสื่อมควรจะงดการสูบบุหรี่ ลดการดื่มสุรา รักษาน้ำหนักมิให้อ้วน รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ การดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มเป็นโรคไตเสื่อมจะสามารถชลอการเสื่อมของโรคไตได้หลักการสำคัญได้แก่
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นมานานหลายปีโดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมโรคไม่ได้มีโอกาศเป็นโรคไตเสื่อมสูง ในการป้องกันโรคไตสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีข้อต้องพิจารณาดังนี้
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้ค่า HbA1c โดยการควบคุมให้ต่ำกว่า 7
เมื่อไตเสื่อมมากขึ้นไตจะขับยาได้น้อยลงเป็นผลทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยที่ไตเสื่อมในระดับ 1-2 ยังไม่มีปัญหาเรื่องการใช้ยา แต่ผู้ป่วยที่ไตเสื่อมระดับ3-5 จะต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ยาโดยเฉพาะยาในกลุ่ม sulfonyl urea ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจจะต้องเปลี่ยนยา หรือปรับลดขนาดของยา ส่วนยา Metformin ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องน้ำตาลต่ำ แต่อาจจะเกิดภาวะเลือดเป็นกรดโดยเฉพาะการให้ยา Metformin ในชายที่มีค่า creatinine 1.5 mg/dl ในผู้หญิงที่มีค่า creatinine 1.4 mg/dl. ส่วนอินซูลินเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถยาชนิดรับประทาน
ผู้ป่วยดรคเบาหวานและมีโรคไตเสื่อมจะมีอุบัติการของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นจึงต้องเลือกใช้ยาอย่างเหมาะสม และควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดให้ดี
ความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธืกับโรคไตเสื่อมค่อนข้างมาก ความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้ไตเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันไตเสื่อมมากขึ้นก็ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ในการควบคุมความดันโลหิตยังต้องคุมให้ต่ำกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอท แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตเสื่อมหรือผู้ที่มีภาวะโปรตีนในปัสสาวะจะต้องคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลิเมตรปรอท
สำหรับผู้ป่วยโรคไตเสื่อมจะมีความผิดปกติของระดับความดันโลหิตกล่าวคือ ในคนปกติเมือเวลานอนความโลหิตจะลดลงร้อยละ10-20 สำหรับผู้ป่วยไตเสื่อมพบว่าผู้ป่วยบางคนระดับความดันไม่ลดเมื่อนอนหลับ กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จะมีอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยบางรายจะต้องวัดความดันโลหิตด้วยตัวเองที่บ้าน(เป้าหมาย น้อยกว่า135/85 เวลากลางวัน และน้อยกว่า 120/70 เวลากลางคืน)
สำหรับผู้ป่วยโรคไตเสื่อมที่ความดันโลหิตไม่สามารถคุมได้ด้วยยาสามชนิดจะต้องตรวจหาสาเหตุเช่น Pheochromocytoma ,Primary aldosteronism,Nephritic GN
ในการรักษาความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยไตเสื่อมจะต้องลดเกลือลงเหลือวันละไม่เกิน 1500 มิลิกรัม (คนปกติรับประทานไม่เกินวันละ2000มิลิกรัม) อ่านเรื่องการรับประทานเกลือต่ำ
สำหรับผู้ที่ระดับความดันโลหิตไม่ลดในเวลากลางคืนแพทย์อาจจะให้รับประทานยาลดความดันโลหิตหนึ่งชนิดในเวลากลางคืน เพราะจากผลการศึกษาพบว่าคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้นและลดการเกิดโรคแทรกซ้อน
คนทั่วไปมักเข้าใจว่ายาในกลุ่มสมุนไพร หรือยาซื้อตามร้านขายยาเพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออาการหวัดเช่น ยาแก้ไอ ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวดเมื่อย ยาระบายแก้ท้องผูก ยาแก้ท้องเสีย วิตามิน อาหารเสริม รวมถึงยาจีนและสมุนไพรต่างๆ เป็นยาที่ปลอดภัยเนื่องจากสามารถหาซื้อได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา แต่ในความจริงยาและสมุนไพรเหล่านี้อาจจะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น
โรคไตเสื่อมจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและยากต่อการควบคุมความดันโลหิต แพทย์มักจะเลือกใช้ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors หรือ angiotensin II receptor blockers (ARB) ในช่วงแรกที่ให้ยาการเสื่อมของไตจะลดลงในระยะแรกของการรักษาซึ่งจะต้องเจาะเลือดตรวจบ่อยในระยะแรก แพทย์มักจะแนะนำให้ลดอาหารเค้มหรือยาขับปัสสาวะ
ผู้ป่วยไตเสื่อมมักจะมีระดับไขมันในเลือดสูงซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ยากลุ่ม statins เพื่อลดไขมันในเลือด
ผู้ป่วยที่ไตเสื่อมมากจะเกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งแก้ไขโดยการให้ยากระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดเลือแดง และบางรายอาจจะต้องให้ฐาตุเหล็กเสริม
ไตเสื่อมไม่สามารถขับน้ำและเกลือได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีการคั่งของน้ำและเกลือ จะมีอาการบวมหลังเท่า แพทย์จะจ่ายยาขับปัสสาวะเพื่อรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่
เนื่องจากผู้ป่วยไตเสื่อมมีปัญหาเรื่องแคลเซี่ยมในเลือดต่ำและกระดูกหักง่าย แพทย์จะจ่ายแคลเซี่ยมและวิตามินดีเพื่อป้องกันกระดูกหัก
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว