หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
เมื่อแพทย์สั่งให้ท่านเจาะเลือดโดยสั่งว่าต้องงดอาหาร 8 ชั่วโมงโดยงออาหารทุกชนิด เครื่องดื่มทุกชนิด แต่ดื่มน้ำเปล่าได้ ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งตรวจน้ำตาล และไขมันในกระแสเลือด
ประโยชน์ของการตรวจน้ำตาลในกระแสเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง Fasting Blood Sugar(FBS)
น้ำตาลในเลือดมาจากสามแหล่งได้แก่
โดยน้ำตาลกลูโคส (glucose) เป็นแหล่งพลังงานแรกที่ร่างกายนำไปใช้ โดยมีฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนที่เรียกว่าอินซูลิน Insulin เป็นตัวนำน้ำตาลเข้าเซลล์ไปให้ร่างกายใช้เป็นพลังงาน แต่หากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลินเช่นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 หรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ซึ่งพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 จะทำให้น้ำตาลอยู่ในกระแสเลือด ไม่สามารถนำไปให้อวัยวะต่างๆในร่างกายใช้ได้ การมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้ส่งผลต่อโรคแทรกซ้อนตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตาเสื่อม ไตเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจ และระบบประสาทเสื่อมตามมา
การเจาะเลือดตรวจ FBS บ่อยแค่ไหนขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการเจาะ
การแปลผลเลือดจะขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการเจาะเลือดกล่าวคือ
สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพหรือผู้ที่มีอาการของเบาหวานแพทย์จะนัดเจาะเลือดหังดอาหาร 8 ชั่วโมงซึ่งแปลผลดังนี้
หากผลเลือดต่ำกว่า 100 mg/dL และท่านไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ให้เจาะเลือดทุก 3 ปี
แต่หากผลเลือดท่านอยู่ระหว่าง 100-125 mg/dLท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน แสดงโอกาสมีความเสี่ยงการเป็นเบาหวานในอนาคต
การดูแลตัวเองหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ให้ท่านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเจาะเลือดทุก 1 ปี
หากผลเลือดท่านมากกว่า 126 mg/dLแสดงว่าท่านเริ่มจะเป็นโรคเบาหวานแพทย์จะนัดท่านตรวจการทำงานของไต ตรวจตา ตรวจปัสสาวะ และท่านควรจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สำหรับท่านที่เป็นโรคเบาหวานค่าน้ำตาลที่เหมาะสมคืออยู่ในช่วงระหว่าง 70 ถึง 130 mg/dL สำหรับผู้ที่เจาะเลือดพบีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก เช่น มากกว่า 250 mg/dLและมีอาการ ปัสสาวะบ่อย ปากแห้งผิวแห้ง เหนื่อยง่าย คลื่นไส้อาเจียนโดยเฉพาะการอาเจียนติดต่อกันมากกว่า 2 ชม. หรือปวดท้อง หายใจสั้นและถี่ กลิ่นลมหายใจเป็นผลไม้ สับสน และอาจหมดสติ ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ เรียกภาวะ (Diabetic Ketoacidosis; DKA)
ค่าน้อยกว่าปกติ คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 mg/dL
หากน้ำตาลน้อยกว่า 60 mg/dL เราเรียกภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งอาจจะแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการขึ้นกับสภาพของผู้ป่วย อาการที่แสดงออกบ่อยได้แก่ เหงื่อออก ใจสั่น มือสั่น หิว หากเป็นมากจะสับสน ตามัว และอาจจะหมดสติ
การดูแลตัวเอง
การตรวจน้ำตาลด้วยตัวเอง
วิธีการตรวจเลือดด้วยตัวเอง
1 |
2
|
3 |
4 |
น้ำตาล น้ำตาลหลังอดอาหาร8ชั่วโมง น้ำตาลหลังจากรับประทานอาหาร2ชั่วโมง การทดOGTT
เอกสารอ้างอิง
ทบทวนวันที่ 26/1/2566
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว