หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศ ไขมันในโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงข้อหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การเปลี่ยนแปลงอาหาร และการออกกำลังกายสามารถระดับไขมันในเลือดได้ และลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ ถ้าหากcholesterol ในเลือดสูงไขมันจะเกาะติดผนังหลอดเลือดแดงที่เรียกว่า plaque ขบวนการที่ทำให้หลอดเลือดตีบเรียก Atherosclerosis ซึ่งหากเป็นมากทำให้หลอดเลือดแดงตีบ เลือดไปเลี้ยงไม่พอจึงเกิดอาการ เช่นเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรืออัมพฤกษ์ นอกจากนั้นคราบไขมันอาจจะหลุดจากผนังหลอดเลือดทำให้เกิด อาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
นอกจากระดับ cholesterol แล้วปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหลอดเลือดแข็งคือ ตัวที่จะพาไขมันไปตามเส้นเลือดซึ่งเรียกว่า lipoprotein ที่สำคัญมีสองชนิดคือ
พบว่าประเทศที่รับประทานอาหารมันจะมีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมสูง แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ประเทศทางยุโรปได้พบว่าหากรับประทานอาหารที่มีไขมัน monounsaturated fats (พบมากในน้ำมัน olive oil). จะเกิดโรคมะเร็งเต้านมต่ำ อ่านที่นี่
ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่ารับประทานไขมันมากจะเกดโรคมะเร็งลำไส้ได้มาก แต่ปัจจุบันพบว่าการรับประทานเนื้อแดงจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ อ่านที่นี่
จากข้อมูลที่ได้ยังไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจน แต่มีความเชื่อว่าการรับประทานอาหารไขมันอิ่มตัว มากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก อ่านที่นี่
ก่อนหน้านี้แพทย์จะแนะนำเรื่องลดน้ำหนักโดยการลดอาหารมันซึ่งไม่ถูกต้องทั้งหมด ปัจจุบันแนะนำให้รับประทานปริมาณไขมันไม่เกิน 30 %ของปริมาณผลังงานทั้งหมดและ ให้ลดปริมาณพลังงานที่รับประทานในแต่ละวัน อ่านที่นี่
ประเทศอเมริกาได้กำหนดระดับไขมันที่เหมาะสมสำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 20 ปีไว้ดังนี้
สมาคมโรคหัวเบาหวาน สมาคมโรคหัวใจและสมาคมโภชนาของประเทศอเมริกาได้แนะนำให้รับประทานอาหารที่เป็นไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของปริมาณพลังงานทั้งหมด แต่จากการศึกษาพบว่าชนิดของไขมันที่รับประทานจะมีผลต่อสุขภาพมากกว่าปริมาณ โดยพบว่าหากรับประทานอาหารไขมันชนิดไขมันอิ่มตัวและ tran-fatty acid จะทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากให้รับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว (monounsaturated or polyunsaturated fat ) จะทำให้การเกิดโรคหัวใจลดลง
นอกจากนั้นควรจะรับประทานไขมันที่ได้จากปลา omega-3 ซึ่งจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ สมาคมโรคหัวใจแนะนำให้รับประทานปลาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
เป็นที่ทราบกันดีว่าไขมันสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และปริมาณไขมันในไข่ก็มีปริมาณค่อนข้างสูง ทำให้แพทย์มักจะแนะนำให้ลดการรับประทานไข่ แต่จากการศึกษาพบว่าการรับประทานไข่วันละฟองไม่เพิ่มอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจ และมีผลต่อระดับไขมันน้อยมาก นอกจากนั้นในไข่แดงยังมี protein, vitamins B12 and D, riboflavin, and folate ซึ่งช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ ดังนั้นจึงแนะนำว่าคนปกติสามารถรับประทานได้ทุกวัน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานให้รับประทานสัปดาห์ละ 2-3ฟอง
สมัยก่อนเชื่อว่าโรคหลอดเลือดแข็งเริ่มต้นตั้งแต่วัยกลางคน แต่ปัจจุบันเชื่อว่าโรคหลอดเลือดแข็งเริ่มตั้งแต่เด็ก และเป็นมากขึ้นอย่างอย่างช้าๆจนเกิดอาการในผู้ใหญ่ นอกจากนั้นยังพบอีกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบพบในคนอายุยุน้อยลง จึงพอสรุปได้ดังนี้
ระดับไขมันของเด็กอายุ 2-19 ปี
ยอมรับได้ | ปานกลาง | สูง | |
---|---|---|---|
Total Cholesterol | <170 | 171-199 | >200 |
LDL | <110 | 111-129 | >130 |
ก่อนการรักษาไขมันสูงต้องพยายามหาสาเหตุ เพราะหากแก้ที่ต้นเหตุสำเร็จก็อาจจะไม่ต้องรับประทานยาลดไขมัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไขมันในเลือด