การระบาดของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

องค์การอนามัยโลกได้ประเมินว่า แต่ละปีจะมีผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละ 17 ล้านคน โดยเฉพาะโรคหัวใจ โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ

  • การสูบบุหรี่ พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่อาจจะสูบเองหรือคนใกล้ชิดสูบบุหรี่ก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้เร็วขึ้น
  • โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่า 110/75 มิลิเมตรปรอท ผนังหลอดเลือดแดงจะรับแรงกระแทก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบและแข็ง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ้วน
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ความเครียดและความโกรธ จะทำให้เกิดหลอดเลือดตีบเร็วขึ้นซึ่งอาจจะมาจากการที่รับประทานอาหารมากขึ้นหรือสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น
  • การดื่มสุรามากเกินไป แม้ว่าดื่มสุราปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยลดอุบัติการของการเกิดหลอดเลือดตีบ แต่การดื่มมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงตีบเนื่องจากความดันโลหิตและไขมัน triglyceride ที่เพิ่มขึ้น

ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจำแนกออกได้ดังนี้

  1. เสียชีวิตจากโรคหัวใจปีละประมณ 7.2 ล้านคน
  2. เียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองปีละ 5.5 ล้านคน
  3. จากโรหัวใจอื่นๆ 2.4 ล้านคน
  4. โรคหัวใจที่เกิดจากความดันโลหิตสูง 9 แสนคน
  5. การอักเสบของหัวใจ 4 แสนคน
  6. โรคหัวใจ Rheumativ 3 แสนคน

อัตราการเสียชีวิตของโรคหัวใจขึ้นกับหลายๆปัจจัย ประเทศที่อายุเฉลี่ยต่ำจะมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ต่ำ ประเทศที่มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ประเทศเหล่านี้จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงโดยเชื่อว่าโรคเหล่านี้เกิดจากกรรมพันธ์

อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในอเมริกาและประเทศทางยุโรปมีแนวโน้มลดลง แต่ประเทศกำลังพัฒนาพบว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละ10000-90000 คน

ประเทศซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตลดลงได้แก่

  • Greece
  • Portugal
  • USA ลดลงร้อยละ 30
  • Netherlands ลดลงร้อยละ 35
  • Sweden ลดลงร้อยละ 40
  • Luxembourg ลดลงร้อยละ 30
  • Australia ลดลงร้อยละ 45
  • Denmark ลดลงร้อยละ 47

ประเทศที่อัตราการเสียชีวิตลดลงเนื่องจากมีการรณรงค์เรื่องการสูบบุหรี่ การควบคุมความเสี่ยงต่างๆ การเฝ้าระวังอาการที่เริ่มเป็น และการรักษาที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ | ระบาดวิทยา | อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ | อาการเจ็บหน้าอก | การวินิจฉัยโรค | คลื่นไฟฟ้าหัวใจ | ผลการตรวจเลือด | ข้อมูลที่ต้องบอกแพทย์ | กลไกการเกิดโรค | การแบ่งประเภทของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรค | จะพบแพทย์เมื่อไร | การป้องกันทุติยภูมิ | ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | การรักษา | การใส่สายสวนหัวใจ | การทำบอลลูน | การฟื้นคืนชีพ | การดูแลเบื้องต้น | |การป้องกันเส้นเลือดตีบ | การตรวจโรคหัวใจทางห้องปฏิบัติการ| โรคแทรกซ้อน |การตรวจหัวใจหลังกล้ามเนื้อหัวใจตาย | การตรวจพิเศษในผู้ป่วยที่หัวใจขาดเลือด | อาหารกับโรคหัวใจ | บุหรี่กับโรคหัวใจ | การออกกำลังกาย

เพิ่มเพื่อน