อาการโรคไข้หวัดหมู

ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จนถึงวันที่ 20 พค 2552 พบผู้ป่วยที่ตรวจเลือดยืนยันแล้วว่าเป็นไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ทั้งหมด 10243 คน เสียชีวิต 80 คนจากที่รายงานทั้งหมด 41 ประเทศ ประเทศที่มีผู้ป่วยจำนวนมากมาจากอเมริกาเหนือ

อาการของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

อาการป่วยของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีอาการแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ไม่มีอาการจนกระทั่งมีอาการหอบเหนื่อยจนเสียชีวิต แต่อาการที่พบได้บ่อยได้แก่

  • ไข้
  • ไอ
  • เจ็บคอ
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • ปวดศรีษะ
  • นอกจากนั้นยังพบอาการทางเดินอาหารได้ร้อยละ 38 ของผู้ป่วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือถ่ายเหลว

ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ต้องนอนโรงพยาบาลมากน้อยแค่ไหน

  • ที่อเมริกา และแคนาดาจะมีอัตราการนอนโรงพยาบาลประมาณร้อยละ2-5 ส่วนเม็กซิโกประมาณร้อยละ 6
  • ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลด้วยอาการไข้หวัด พบว่าประมาณร้อยละ 13 เป็นไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ ร้อยละ 20 เป็นไข้หวัดตามฤดูกาล
  • ประมาณหนึ่งในสามที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

ผู้ป่วยที่เสียชีวิตมีลักษณะอย่างไร

ผู้ป่วยที่มีอาการหนักและรับตัวไว้ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัว ผู้ป่วยของอเมริกาประมาณครึ่งหนึ่ง ร้อยละ 46 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจะมีโรคประจำตัว โรคประจำตัวที่พบได้แก่

  • การตั้งครรภ์ ที่อเมริกามีคนท้อง 20คนที่พิสูจน์ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ พบว่าต้องนอนโรงพยาบาล 3 รายและเสียชีวิต 1 ราย ส่วนที่เมืองแคลลิฟอร์เนียพบว่า 2 ใน 5 รายมีโรคแทรกซ้อน เช่นน้ำเดิน หรือคลอดก่อนกำหนด
  • โรคหอบหืด
  • โรคปอด
  • โรคเบาหวาน
  • อ้วนมาก
  • มีโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน
  • โรคระบบประสาท
  • โรคหัวใจ

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่เสียชีวิตครึ่งหนึ่งจะมีโรคประจำตัว ระยะเวลาตั้งแต่เกิดอาการจนกระทั่งเข้าโรงพยาบาลประมาณ 6 วัน อาการที่สำคัญของผู้ป่วยที่เสียชีวิตมีดังนี้

  • ไข้
  • หายใจลำบาก
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ครั่นเนื้อครั่นตัวอย่างมาก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจเหนื่อย
  • ออกซิเจนในเลือดต่ำ
  • ผู้ป่วยบางท่านจะมีความดันโลหิตต่ำ
  • ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เกิดอาการจนเสียชีวิตประมาณ 10 วัน
  • ร้อยละ 24 จะมีอวัยวะล้มเหลวมากกว่าสองอวัยวะ
  • ผลการตรวจเลือดพบว่าผิดปกติ
    • ผลตรวจเลือดทั่วไปพบว่ามีทั้งเม็ดเลือดขาวขึ้นและต่ำ
    • ค่า SGOT,SGPTสูงซึ่งบ่งบอกว่ามีการอักเสบของตับ
    • ค่า elevated lactate dehydrogenase(LDH) (100% of 16 fatal cases)
    • ค่า CPK สูงซึ่งบ่งบอกว่ามีการทำลายของกล้ามเนื้อ
    • ประมาณครึ่งหนึ่งจะมีภาวะไตวายร่วมด้วย

มีโรคติดเชื้อแบคทีเรียอื่นร่วมด้วยหรือไม่

ผู้ป่วยที่รับตัวไว้ส่วนใหญ่จะไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วม แต่เมื่อนอนโรงพยาบาลอาจจะมีโรคติดเชื้อแบคทีเรียร่วม

แนวทางการรักษาผู้ป่วยตามการแนะนำขององค์การอนามัยโลก

ผู้ป่วยที่มีอาการเบา

  • ให้รักษาดูแลตัวเองที่บ้าน
  • หากมีไข้ให้รับประทานยา paracetamol ไม่ควรใช้ aspirin
  • ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตควรจะได้รับยาต้านไวรัส

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก

  • รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล
  • ให้ยาต้านไวรัสโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เช่นปอดบวม
  • ผู้ป่วยควรจะได้รับการช่วยหายใจโดยการให้ออกซิเจน หรือเครื่องช่วยหายใจ
  • การให้ยาปฏิชีวนะจะให้ตามความจำเป็น