หน้ากากอนามัย
คงจะไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 (กค 2552) ในประเทศไทยจัดอยู่ในขั้นที่ระบาดไปเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทย และทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน หากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบนี้เชื่อว่าประเทศไทย จะต้องเป็นประเทศในอันดับต้นๆของจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ และมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ในอันดับต้นๆ การที่มามองว่าอัตราการติดเชื้อหรืออัตราการเสียชีวิตของไทยยังน้อยกว่าที่อื่น แล้วไม่มีมาตราการที่จัดการกับการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ ถือว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่บกพร่อง กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้มีการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดของโรค แม้ว่าประเทศไทยจะผ่านการระบาดของไข้หวัดมรณะ และไข้หวัดนก แต่ไม่มีความพร้อมในการจัดการกับโรคระบาด
ดังนั้นแต่ละบุคคลและครอบครัวคงต้องพึ่งตนเองในการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อโรค
มาตราการทั่วๆไป
มาตราการทั่วๆไปจะมีความสำคัญมากว่าการสวมหน้ากากอนามัยในการป้องกันการติดต่อ
สำหรับคนทั่วๆไปที่ยังไม่เป็นโรค
พยายามรักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรจากคนที่มีอาการไข้หวัดและ
- อย่าเอามือจับจมูกและปากทั้งของตัวเองและผู้ป่วย
- ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่หรือเจลล้างมือโดยเฉพาะเมื่อมือไปสัมผัสกับปากหรือจมูกหรือพื้นผิวที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ให้สัมผัสกับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นหวัดให้สั้นที่สุด
- ไปที่ที่มีคนแออัดเท่าที่จำเป็น และให้ออกจากที่ชุมชนให้เร็วที่สุด
- เปิดหน้าต่างและประตูบ้านเพื่อให้อากาศถ่ายเท
สำหรับผู้ที่มีอาการป่วยเหมือนไข้หวัดใหญ่
- ให้อยู่แต่ในบ้าน
- อย่าใกล้ชิดกับคนทั่วไป เว้นระยะห่างประมาณ 1 เมตร
- ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิสชุ่ หรือผ้า แล้วทิ้งลงถังหรือทำความสะอาดทันที ล้างมือทุกครั้งหลังจามหรือไอ
- เปิดประตู้หรือหน้าต่างเพื่อทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
การใช้หน้ากากาอนามัยโดยคำแนะนำของ CDC
CDC ได้ออกแนวทางการใส่หน้ากากอนามัยสำหรับคนทั่วไป และผู้ป่วย โดยแบ่งตามพื้นที่อยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่แนะนำให้คนทั่วไปใส่ นอกเสียจากว่ากลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยเท่านั้นที่ใส่ แต่บ้านเราเมืองไทยได้แนะนำให้คนทั่วไปใส่หน้ากากอนามัยกันทุกๆคนซึ่งไม่สอดคล้องกับคำแนะนำของ CDC
Setting | ผู้ที่แข็งแรง และไม่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ใหม่ (Non-high risk persons) |
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต เมื่อป่วยเป็นไข้หวัด สายพันธ์ใหม่ (High-Risk Persons) 3 |
---|---|---|
ระดับชุมชน | ||
ยังไม่มีการระบาดของ เชื้อไข้หวัดใหญ่ในชุมชน | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator |
มีการระบาดในชุมชน: แต่ไม่แออัด | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator |
มีการระบาดในชุมชน: สถานที่แออัด | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator | ให้หลีกเลี่ยงสถานที่ดังกล่าว. หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้สามหน้ากากอนามัย4 5 |
บ้านหรือที่พัก | ||
ผู้ที่ดูแลคนป่วยที่เป็นไข้หวัด | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator | ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสียงไม่ควรดูแล หากจำเป็นต้องดูแลก็ให้สวม facemask or respirator 4 5 |
สมาชิกในครอบครัวอื่น | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator |
สถานที่ทำงาน(non-health care) | ||
ยังไม่มีการระบาดของ เชื้อไข้หวัดใหญ่ในชุมชน | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator |
มีการระบาดในชุมชน | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator แต่จะสวมในกรณีตามเงื่อนไขข้อ 4 5 | ไม่แนะนำในการสวม Facemask/respirator แต่จะสวมในกรณีตามเงื่อนไขข้อ4 5 |
ที่ทำงานเป็นสถานพยาบาล (health care) 6 | ||
การดูแล 7ผู้ที่สงสัย หรือ ป่วยเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ | ใส่หน้ากากอนามัยชนิด N95 | ให้เปลี่ยนหน้าที่. ใ่หน้ากากอนามัยชนิด N95 |
1 ประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยทั้งชนิด respirators(N95) และ หน้ากากอนามัย facemasksในการป้องกันโรคติดต่อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ยังไม่แน่ชัด แต่การใช้หน้ากากอนามัยหากใช้อย่างถูกวิธีจะสามารถป้องกันโรคได้
3 กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงเมื่อป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้แก่(i.e. high-risk persons): เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี;ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี; เด็กหรือวัยรุ่น(น้อยกว่า18 ปี)ที่ต้องรับประทานยา aspirin เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิด Reye syndrome หากติดเชื้อไข้หวัดใหญ่; คนท้อง; คนที่ป่วยเป็นโรคปอด เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคเลือด โรคระบบประสาท โรคเบาหวาน ผู้ที่รับประทานยากดภูมิ เช่นยา steroid เป็นโรคเอดส์; ผู้ที่อาศัยใน nursing homes and other chronic-care facilities.
4 การใช้ N95 ให้ถูกต้องจะต้องมีการอบรม และฝึกการใช้ หากไม่มีหน้ากากชนิด N95 ก็อาจจะใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาแทนได้ (see FDA website).
5สำหรับสถานที่ทำงานทั่วๆไปไม่แนะนำให้สวมf N95 respirators หรือหน้ากากอนามัย แต่สำหรับงานที่ต้องติดต่อ สัมภาษผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด(ไข้ ร่วมกับน้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน) ควรจะมีมาตราการเสริมดังต่อไปนี้
- a) ให้พนักงานอยู่ห่างจากผู้ป่วยระยะประมาณ 6 ฟุตหรือมากกว่า;
- b) ให้ใช้เวลาในการทำงานกับผู้ป่วยให้สั้นที่สุด;
- c) ให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย และปิดปากและจมูกทุกครั้งที่มีอาการไอ หรือจาม;
- d)ผู้ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากเป่วยเป็นไขหวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ควรจะลาหยุดหรือเปลี่ยนสายงานและ,
- e) สำหรับผู้ที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยต้องสวมr N95 respirator หรือ Facemask OSHA website.
6 ให้ทบทวนดูคำจำกัดความของโรคที่นี่.
7 "การดูแล" หมายถึงกิจกรรมที่ดูแลผู้ป่วยที่เป็นหรือสงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ เช่น การเช็ดตัว การส่งอาหาร การทำความสะอาดห้อง
เงื่อนไข | คำแนะนำ |
---|---|
ขณะอยู่บ้านและอยู่ห้องที่ใช้ร่วมกันกับผู้อื่น | ให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย Facemask และหรือใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม |
ขณะอยู่โรงพยาบาลและออกนอกห้อง | ให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย Facemask |
อยู่ที่ทั่วๆไป | ให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย Facemask ,และหรือใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม |
Breastfeeding | ให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย Facemask , และหรือใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม |
การสวมหน้ากากอนามัย
- หน้ากากควรจะคลุมทั้งปากและจมูก และกดแทบเหล็กบริเวณดังจมูกเพื่อให้หน้ากากแนบกับหน้าให้มากที่สุด
- อย่าเอามือไปสัมผัวหน้ากากในขณะใช้งาน
- หากจำเป็นต้องสัมผัสให้ล้างมือทุกครั้ง
- เปลี่ยนหน้ากากทุกครั้งที่หน้ากากสกปรก หรือชื้น
- ให้ใช้หน้ากากชนิดใช้แล้วทิ้ง
- ให้ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ไปในที่คนแออัดเพื่อป้องกันตัวเอง
- ให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องเข้าไปดูและผู้ป่วย
- ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หน้ากากอนามัย
ล้างมือทุกครั้งเมื่อถอดหน้ากาก และไม่พยายามสัมผัสหน้ากาก ขอให้ทุกท่านโชคดี
หน้ากากอนามัย ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไข้หวัดนก ไข้หวัดมรณะ
- คำแนะนำสำหรับไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ปี2010
- เชื้อไข้หวัดใหญ่
- โรคไข้หวัดใหญ่
- ไข้หวัดหมู
- เมื่อไรจึงจะสงสัยว่าเป็นไข้หวัดหมู
- การดูแลผุ้ป่วยและการป้องกันการติดต่อ
- การตั้งครรภ์การไข้หวัดสายพันธ์ใหม่
- ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่กับการดูแลเด็ก
- การเตรียมความพร้อมสำหรับครอบครัว
- อาการและการดำเนินของโรค
- การสวมหน้ากากอนามัย
- การดูแลผู้ป่วย
- การติดต่อ
- การเตรียมที่ทำงานสำหรับรับการระบาด
- การฉีดวัคซีน
(Ref. a) MacIntyre CR, et al. EID 2009;15:233-41. b) Cowling BJ, et al. Non-pharmaceutical interventions to prevent household transmission of influenza. The 8th Asia Pacific Congress of Medical Virology, Hong Kong, 26-28 February 2009.)
2 For the purpose of this document, respirator refers to N95 or any other NIOSH-certified filtering face piece respirator.