ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้ระบาดมาถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ด้วยความประมาท และด้อยประสิทธิภาพของกระทรวงสาธารณสุขทำให้เชื้อนี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และทำให้มีผู้เสียชีวิต เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยมีมากเกินอัตรากำลังของแพทย์ที่จะดูแลได้ ท่านที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่จะสายพันธุ์ใหม่หรือเก่าท่านต้องดูแลตัวเองในเบื้องต้น หากพบว่าอาการไม่ดี หรือเป็นนานท่านจะต้องปรึกษาแพทย์
อุปกรณ์หรือสถานที่สำหรับการดูแลผู้ป่วย
- ห้องสำหรับผู้ป่วยนอน หากให้ดีควรจะมีห้องน้ำในตัว และควรจะเป็นห้องที่ไม่ค่อยมีคนเดินผ่าน ควรเป็นห้องที่โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก
- หน้ากากอนามัยสำหรับผู้ป่วยสวมเมื่อเวลาออกนอกห้อง
- สบู่หรือแอลกอฮอล์เหลวสำหรับล้างมือเมื่อไอ จาม หรือกำลังจะออกนอกห้อง
- ปรอทวัดไข้
- ผ้าสำหรับเช็ดตัวลดไข้
- สมุดสำหรับจดบันทึกอุณหภูมิ ชีพขจร การหายใจ
- น้ำยาเช็ดพื้น
- กระดาษทิสชู่
- ที่ทิ้งขยะและมีถุงสำหรับมัด
ไข้หวัดหมูอาจจะทำให้เกิดอาการ ไข้ไอ เจ็บคอ ปวดสรีษะ ปวดตามตัว บางคนอาจจะมีอาการท้องร่วงคลื่นไส้อาเจียน บทความต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้อย่างปลอดภัย
เชื้อไข้หวัดหมูติดต่ออย่างไร และการดูแลผู้ป่วยต้องทำอย่างไร
เชื้อไข้หวัดหมูก็เหมือนกับเชื้อไข้หวัดทั่วไปติดต่อโดย
- การไอ จามและมีเสมหะหรือน้ำมูกที่มีเชื้อโรคลอยไปในอากาศและเข้าจมูก ปากหรือตาของคนที่อยู่ใกล้
- น้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ป่วยปนเปื้อนอยู่กับสิ่งแวดล้อม เช่นลูกบิดประตู ราวบันได แป้นคอมพิวเตอร์ และคนทั่วไปไปสัมผัสและเอาเข้าปาก เชื้อก็สู่ร่างกาย
- หรือมือสัมผัสมือหรือส่วนอื่นของผู้ป่วยที่ปนเปื้อนเสมหะที่มีเชื้อโรค แล้วเอาเข้าปาก
การดูผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดหมู
-
ท่านต้องตรวจสอบว่าท่านมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนหรือไม่ กลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนได้แก่ ผู้สูงอายุ ท่านที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคปอด ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
- ปรึกษาแพทย์ประจำตัวท่านว่าท่านต้องได้รับยาต้านไวรัสหรือเปล่า
- อยู่ในบ้าน 7วันนับจากวันที่มีไข้หรือ ไม่มีอาการแล้ว 24 ชม
- พักผ่อนให้มาก
- ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่เพื่อป้องกันมิให้ร่างกายขาดน้ำ
- ปิดปากหและจมูกเมื่อเวลาไอหรือจาม และล้างมือบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนอื่นโดยไม่จำเป็น ให้หยุดงาน หยุดเรียน ไม่ควรไปที่สาธารณะที่มีคนมาก เช่นห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนต์ เป็นต้น
- เฝ้าดูว่ามีอาการฉุกเฉินที่จำเป็นจะต้องรีบไปพบแพทย์
การใช้ยารักษาโรค
โรคไข้หวัดโดยทั่วไปยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับยาต้านไวรัส ยาต้านไวรัสเหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน หรือมีอาการหนัก
- ในเด็กหรือวัยรุ่นไม่ควรได้รับยาลด aspirin เพราะจะทำให้เกิดโรค Reye syndrome
- หากซื้อยารับประทานต้องตรวจสลากว่าไม่มี aspirin
- ยาแก้ปวดลดไข้ที่ใช้ได้คือ acetaminophen และ ibuprofen
- ในเด็กเล็กไม่ควรใช้ยาลดน้ำมูก ควรจะใช้เต้นพ่นละออง และลูกที่ดูดเสมหะ
ภาวะที่ต้องรีบไปพบแพทย์
- หายใจลำบากหรือเจ็บหน้าอก
- ผิวหรือริมฝีมากมีสีม่วง
- อาเจียนจนรับประทานอาหารไม่ได้
- มีอาการขาดน้ำ เช่น เวียนศรีษะ หน้ามืดเวลายืนขึ้น ปัสสาวะน้อยลง เด็กจะร้องไห้ไม่มีน้ำตา
- มีอาการชัก
- เด็กซึม
การลดการติดต่อภายในบ้าน
เมื่อคนในบ้านป่วยด้วยไข้หวัดหมู คนดูแลผู้ป่วยจะต้องดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดีแล้ว ยังต่อป้องกันตัวเอง และคนในบ้านมิให้ติดเชื้อด้วย วิธีการป้องกันมีดังนี้
- แยกผู้ป่วยออกจากสมาชิกในครอบครัวให้มากที่สุด
- ให้ผู้ป่วยปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม
- ให้ล้างมือทุกครั้งหลังจามหรือไอ
- ให้สมาชิกในครอบครัวล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ
- ปรึกษาแพทย์ว่าจะให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้งกันโรคแก่กลุ่มเสี่ยงที่อาศัยในบ้านเดียวกัน
จะให้ผู้ป่วยนอนที่ไหนดี
- หากเป็นไปได้ควรจะแยกห้องให้ผู้ป่วยต่างหากและมีห้องน้ำในตัวประตูห้องควรจะปิดอยู่ตลอดเวลา
- หากไม่มีความจำเป็นก็ให้อยู่แต่ในห้องเป็นเวลา 7 วันสำหรับผู้ใหญ่ 10 สำหรับเด็กหลังจากเกิดอาการ
- หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านหรือมายังที่มีคนอยู่ก็ให้สวมหน้ากากอนามัย
- หากมีห้องน้ำแยกต่างหากจะช่วยลดการติดเชื้อ และให้ล้างห้องน้ำทุกวัน
การป้องกันคนอื่นติดเชื้อจากผู้ป่วย
- หากไม่จำเป็นก็ไม่ต้องมีคนมาเยี่ยม
- ให้มีคนดูแลเพียงคนเดียว
- ไม่ควรให้คนท้องมาดูแลผู้ป่วย
- สมาชิกในบ้านต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ
- ห้องที่พักควรจะมีการระบายอากาศที่ดี
- ให้ใช้ tissue เช็ดมือแล้วทิ้ง หรือใช้ผ้าเช็ดมือผืนเล็กแล้วล้าง
- หากผู้ร่วมอยู่ในบ้านมีไข้ ปรึกษาแพทย์ว่าจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสหรือไม่
หากคุณเป็นคนดูแล คุณต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง
- ไม่ควรนั่งประจันหน้ากับผู้ป่วยแบบใกล้ชิด
- หากต้องอุ้มเด็กให้เอาคางเด็กพาดไว้ที่ไหล่เพื่อป้องกันเสมหะเข้าจมูก
- ล้างมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วย
- โปรดระลึกเสมอว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถติดเชื้อจากผู้ป่วยได้ตลอดเวลา และอาจจะแพร่สู่ผู้อื่นได้โดยที่ยังไม่มีอาการ ดังนั้นเมื่อต้องอกนอกบ้านให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
- ปรึกษาแพทย์ว่าจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ที่สำคัญต้องดูอาการตัวเองว่ามีอาการไข้หรือเปล่า หากมีต้องปรึกษาแพทย์
การใช้หน้ากากอนามัย
- หลีกเลี่ยงการประจันหน้าใกล้ชิด(ระยะ 6 ฟุต)
- หากต้องประจันหน้าให้ใช้เวลาให้น้อยที่สุด และใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง
- หากต้องพ่นยาให้ผู้ป่วยให้ใส่หน้ากากชนิด N95
- เมื่อใช้หน้ากากเสร็จให้ทิ้งเลย ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่
- ล้างมือหลังถอดหน้ากากอนามัย
การทำความสะอาดอุปกรณ์
- ทิ้งกระดาษหรืออุปกรณืที่ใช้แล้วทิ้งเลย
- เช็ดทำความสะอาดเตียง พื้นด้วยน้ำสบู่
- เสื้อผ้า อุปกรณ์ทานอาหารไม่ควรใช้ร่วมกัน แต่ทำความสะอาดพร้อมกันได้