การตรวจค่าBlood Urea Nitrogen
การตรวจค่าBlood Urea Nitrogen หรือที่เรียกว่า BUN เป็นการวัดปริมาณไนโตรเจนในกระแสเลือด ร่างกายจะย่อยสลายโปรตีนที่ตับ ชั้นต้น สารของเสีย จะอยู่ในรูปของแอมโมเนีย (NH) และต่อจากแอมโมเนีย จึงสร้างเป็นสารยูเรีย (urea) และจะนำของเสียดังกล่าวนี้ไปกำจัดผ่านไต เพื่อออกเป็นปัสสาวะต่อไป ส่วนประกอบสำคัญของ ยูเรีย (urea) คือไนโตรเจน หากไตเสื่อมก็จะมีการคั่งของไนโตรเจน
เมื่อไรแพทย์จึงจะสั่งตรวจ BUN
- แพทย์สงสัยว่าท่านจะเป็นโรคไต
- แพทย์ต้องการทราบว่าไตของท่านทำงานเป็นปกติหรือไม่
- เพื่อติดตามการทำงานของไตท่านว่าแย่ลงหรือดีขึ้น
- เพื่อติดตามผลการรักษา
- เป็นการประเมินความรุนแรงของการขาดน้ำกล่าวคือหากขาดน้ำมากการขึ้นของค่า BUNจะมากกว่าการขึ้นของค่า creatinine
การเจาะเลือด
ค่าปกติ
- ค่าปกติของ BUN [งดอาหารอย่างน้อย 8 ชม.]
- หากมีใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) ให้ยืดตามค่าที่ระบุนั้นเป็นหลัก
- ค่าปกติโดยทั่วไปคือ 6 – 20 mg/dL (หน่วยมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร)
Blood urea nitrogen (BUN) Adults: | 10–20(mg/dL) |
---|
Children: | 5–18 mg/dL |
---|
ค่าสูงผิดปกติ
- อาจเกิดจากการทำงานของไตผิดปกติ อาจเกี่ยวข้องกับภาวะไตเสื่อมเฉียบพลัน หรือไตเสื่อมเรื้อรังที่เกิดจากโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
- ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
- จากภาวะช๊อกจากความดันโลหิตต่ำจนเลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ
- เกิดจากภาวะขาดน้ำ dehydration หรือการดื่มน้ำน้อยเกินไป
- ได้รับอาหารประเภทโปรตีนสูงมากเกินไป
- เกิดจากการได้รับยาบางชนิด
- เกิดการตกเลือดในทางเดินอาหาร (gastrointestinal bleeding)
- อาจออกกำลังกายหักโหมเกินไป
- ตับอ่อนอาจหลั่งเอนไซม์ย่อยอาหารบกพร่อง
- ไฟไหม้อย่างรุนแรง
- ท่อปัสสาวะมีการอุดตัน Urinary tract obstruction
ยาที่ทำให้ค่า BUNสูง
- Allopurinol
- Aminoglycoside antibiotics
- Amphotericin B
- Aspirin (high doses)
- Bacitracin
- Carbamazepine
- Cephalosporins
- Chloral hydrate
- Cisplatin
- Colistin
- Furosemide
- Guanethidine
- Indomethacin
- Methicillin
- Methotrexate
- Methyldopa
- Neomycin
- Penicillamine
- Polymyxin B
- Probenecid
- Propranolol
- Rifampin
- Spironolactone
- Tetracyclines
- Thiazide diuretics
- Triamterene
- Vancomycin
ค่า BUN น้อยผิดปกติ
- อาจมีสาเหตุจากการได้รับอาหารประเภทโปรตีนน้อยมาก
- ร่างกายอาจมีปัญหาการดูดซึมอาหาร ทำให้ขาดอาหาร(malnutrition)
- ตับได้รับความเสียหาย
- อาจจะมีปริมาณน้ำในร่างกายมากเกินไป (overhydrated)
- เด็กและสตรีจะมีค่า BUNต่ำกว่าผู้ชาย
ยาที่ทำให้ค่า BUN ต่ำ
- Chloramphenicol
- Streptomycin
ในการประเมินการทำงานของไตแพทย์มักจะเจาะเลือดตรวจหาค่า creatinine เพื่อประเมินการทำงานของไต ค่า creatinine มาจากการสลายของกล้ามเนื้อซึ่งค่อนข้างจะคงที่ การที่ค่า creatinine จะบ่งบอกว่าไตทำงานลดลง ส่วน BUN เกิดจากการสลายของโปรตีนซึ่งอัตราไม่คงที่ขึ้นกับปริมาณโปรตีน การไหลเวียน จึงได้นำอัตราส่วนของ BUN:creatinine มาช่วยในการวินิจฉัยโรคเช่นภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง
BUN-to-creatinine ratio Adults: | 6–25 with 15.5 เป็นค่าที่ดีที่สุด |
---|
- BUN-to-creatinine ratiosสูงเกิดในภาวะไตวายเฉียบพลันซึ่งเกิดจากภาวะช็อค หรือขาดน้ำ มีเลือดออกทางเดินอาหาร หรือทางเดินหายใจ
- ค่า BUN-to-creatinine ratio ต่ำสาเหตุเกิดจากการขาดโปรตีน กล้ามเนื้อบาดเจ็บรุนแรง การตั้งครรภ์ ตับแข็ง
เมื่อตรวจพบว่าค่า BUN สูงจะต้องทำอย่างไร
- ให้หาสาเหตุที่ทำให้ค่า BUN สูงและแก้ไขที่แก้ไขได้เช่น การรับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป หรือดื่มน้ำน้อยไป หรือรับประทานยาขับปัสสาวะ
- หากแก้ปัญหาแล้วค่ายังสูงให้พบแพทย์
- ดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคไต
- หากท่านมีโรคประจำตัว ให้รักษาและติดตามโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคไตให้เหมาะสม
- กรุณาแจ้งแพทย์หากท่านได้รับยา สมุนไพร หรือวิตามินใดๆอยู่ เพื่อใช้ในการประเมินสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ข้อควรทราบ
BUNไม่สามารถตัดสินได้ชัดเจนว่าเป็นโรคไต แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งซึ่งจำเป็นที่จะช่วยบ่งชี้ร่วมกับผลการตรวจเลือดตัวอื่นเช่นในข้อต่อไปอีก 2 ข้อ
- Creatinine จะให้ผลการตรวจไตที่ค่อนข้างแม่นยำมากกว่า
- Creatinine clearance คือ ความสามารถในการกรองของเสียของไตที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งจะแสดงความสมบูรณ์ของไตชัดเจนยิ่งขึ้น GFR
อัตรากรองของไต | Creatinin | BUN | การตรวจปัสสาวะ | การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ | การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด | การตรวจไขมันในเลือด | การตรวจเกลือแร่ | แคลเซี่ยม
เรียบเรียงวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว