คอเลสเตอรอล cholesterol


คอเลสเตอรอลในเลือดสูงจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคอยู่ก่อน เช่น สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน นอกจากนั้นระดับคอเลสเตอรอลในเลือดยังขึ้นกับ อายุ เพศ อาหาร และประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว เมื่อคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นจะเกิดคราบที่ผนังหลอดเลือดเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง


ไขมันในเลือด cholesterol

คอเลสเตอรอลคืออะไร

คอเลสเตอรอลในเลือดมาจากสองแหล่งคือร่างกายวร้างเอง และมาจากอาหาร ตับทำหน้าที่สร้างคอเลสเตอรอลทั้งหมด ส่วนอาหารที่มีคอเลสเตอรอลได้แก่ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม หากเรารับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์มากร่างกายก็จะสร้างคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้น คอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงจะทำให้เกิดคราบเกาะตามผนังหลอดเลือด ซึ่งทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และเกิดหลอดเลือดตีบ หากเกิดที่สมองก็จะเป็นโรค Stroke หากเกิดที่หลอดเลือดหัวใจก็จะเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คอเลสในเลือดมีทั้งไขมันดี และไขมันไม่ดีหรือที่เรียกว่าไขมันเลวค่าไขมันทั้งสองควรจะมีค่าที่เหมาะสม ไขมัน cholesterol

ในการดูแลไขมันในเลือดสูงจะต้องเริ่มต้นการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเต็มที่แล้วระดับไขมันในเลือดยังสูง ก็จำเป็นจะต้องได้รับยาลดไขมัน

ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

คอเลสเตอรอลในเลือดจะมโปรตีนหุ้ม โดยมีคอเลสเตอรอลอยู่ตรงกลางเราเรียก lipoproteins ซึ่งจากลักษณะของ lipoproteins จะแบ่งออกเป็นไขมันดี HDL cholesterol และไขมันเลว LDL cholesterol ซึ่งเราจะทราบค่าจากการเจาะเลือดตรวจ



ไขมันเลว LDL (Bad) Cholesterol

LDL ถือว่าเป็นไขมันเลวเนื่องจากหากมีมากจะกลายเป็นคราบเกาะผิวหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวและเกิดหลอดเลือดแข็ง หากหนาตัวมากๆทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ แต่ห่กคราบคอเลสเตอรอลหลุดทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด เกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน หรือเกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน หากเกิดที่เท้าจะเกิดดรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

ไขมันดีHDL (Good) Cholesterol

ที่ว่าเป็นไขมันดีเนื่องจาก HDL cholesterol จะเป็นตัวพาไขมันเลวออกจากผนังหลอดเลือดและนำกลับสู่ตับและขับออกจากร่างกาย หากไขมันดีสูงจะป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ

ไขมันไครกลีเซอร์ไรด์ Triglycerides

ไขมันไครกลีเซอร์ไรด์ ทำหน้าที่สะสมพลังงานจากอาหารที่เรารับประทาน หากมีไขมันไตรกลีเซอรร์ไรด์ในเลือดสูงจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง สาเหตุของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงได้แก่ น้ำหนักเกินหรืออ้วน การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรามากไป การรับประทานอาหารแป้งมากไป(มากกว่าร้อยละ 60) ผู้ที่มีไขมันไตร์กลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงมักจะมีไขมันเลว สูง และไขมันดี ต่ำ

ไขมัน Lp(a) Cholesterol

เป็นการไขมันจัดอยู่ในกลุ่มไขมันเลวหากพบในกระแสเลือดในระดับสูงจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ

ผู้ป่วยคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมีอาการหรือไม่

คนทั่วไปไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคไขมันในเลือดสูง เนื่องจากไขมันในเลือดสูงจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะเกิดอาการเมื่อเริ่มมีโรคหลอดเลือดแข็งและตีบทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ ได้แก่อาการทางหลอดเลือดสมอง อาการของโรคหัวใจ อาการของโรคหลอดเลือดขา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจเลือดหาระดับไขมันในเลือด

การตรวจเลือดหาคอเลสเตอรอลในเลือด

สาเหตุของคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

แบ่งสาเหตุของคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเป็น

  1. ปัจจัยที่คุณควบคุมได้
  2. ปัจจัยที่คุณควบคุมไม่ได้

ปัจจัยที่คุณควบคุมไขมัน cholesterl ได้

จากอาหาร

คอเลสเตอรอลพบมากในอาหารที่มาจากสัตว์ เช่น ไข่แดง เนื้อสัตว์ เนย โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวจะทำให้ไขมันเลว LDL ขึ้นสูง อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงได้แก่ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม ช็อคโกแลต อาหารทอด นอกจากนั้นอาหารที่มีไขมันทรานส์ก็จะทำให้ไขมันเลวเพิ่มมากขึ้น ไขมันทรานส์พบมากในน้ำมันพืชที่ผ่านขบวนการผลิต อาหารที่ผ่านขบวนการผลิต

การขาดการออกกำลังกาย

การขาดการออกกำลังกายจะทำให้เกิดโรคอ้วน และในที่สุดก็จะทำให้ไขมันเลวเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุม

  • กรรมพันธ์

  • เพศ ผู้ชายจะมีไขมัน HDL ต่ำกว่าสตรี ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 55 ปีจะมีไขมัน LDL ต่ำเมื่ออายุมากกว่า 55 ไขมันLDLก็จะสูงขึ้น

การวินิจฉัยไขมันในเลือด cholesterol ในเลือดสูง

จะต้องงดอาหาร(ดื่มน้ำได้)อย่างน้อย 9-12 ชม แพทย์จะสั่งตรวจไขมัน 4ตัวได้แก่

  • Total cholesterol เป็นการวัดปริมาณคอเลสเตอรอลทั้งหมดในเลือดทั้งไขมันดี high-density lipoprotein (HDL) cholesterol และไขมันเลว low-density lipoprotein (LDL) cholesterol
  • LDL cholesterol หรือไขมันเลว ซึ่งหากมีระดับสูงจะทำให้เกิดคราบที่ผนังหลอดเลือด
  • HDL cholesterol หรือไขมันดี ไขมันนี้จะนำคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือดออกไปกำจัด
  • Triglycerides เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งหากมีค่าสูงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

สำหรับการตรวจสุขภาพบางแห่งเจาะเลือดตรวจ Total cholesterol และ Triglycerides แพทย์จะสั่งเจาะเลือดต่อในรายที่ Total cholesterol มากกว่า 200

 

ค่า Total Cholesterol การแปรผล
น้อยกว่า 200 mg/dL ค่าที่ต้องการ
200–239 mg/dL เริ่มสูง
240 mg/dL and higher สูง
ค่า LDL Cholesterol การแปรผล
น้อยกว่า 100 mg/dL ค่าที่ต้องการ
100–129 mg/dL สูงเล็กน้อย
130–159 mg/dL สูงปานกลาง
160–189 mg/dL สูง
190 mg/dL and higher สูงมาก
ค่า HDL Cholesterol การแปรผล
น้อยกว่า 40 mg/dL เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือด
40–59 mg/dL พอใช้
60 mg/dL และมากกว่า ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

สำหรับค่า Triglycerides หากสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • ค่าอยู่ระหว่าง 150–199 mg/dL ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • หากค่าสูงกว่า 200 mg/dL ต้องเฝ้าติดตามและให้การรักษา

ปัจจัยที่ทำให้ค่า Triglycerides สูงได้แก่

  • โรคอ้วน
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มสุรามาก
  • ทานอาหารจำพวกแป้งมาก
  • ยาบางชนิด
  • พันธุกรรม

การรักษาไขมันในเลือด( cholesterol)สูง

ในการรักษาคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจะมีปัจจัยในการตัดสินใจให้การรักษาดังนี้

  1. ระดับไขมันในเลือด
  2. โรคประจำตัวที่เป็นอยู่
  3. ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

  1. การสูบบุหรี่
  2. ความดันโลหิตสูง
  3. ประวัติสมาชิกครอบครัวเป็นโรคหัวใจก่อนวัย(ผู้ชายเกิดก่อนอายุ 55 ปี ผู้หญิงเกิดก่อนอายุ 65 ปี)
  4. อายุ(ชายอายุ 45 ปี หญิงอายุ 55 ปี)

โดยการนำข้อมูลใช้สำหรับคำนวณความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ค่าไขมันเลวที่เหมาะสม

ในการดูว่าค่าไขมันเลวว่าสูงหรือไม่จะต้องพิจารณาว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่เพื่อจัดลำดับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหรือปัจจัยที่คุณมีอยู่ การจัดลำดับความเสี่ยง เป้าหมายไขมันเลว
โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเบาหวาน, ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 20 % I. ความเสี่ยงสูงมาก* น้อยกว่า 100 mg/dL
มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 2ข้อ และความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ 10–20% II.ความเสี่ยงสูง น้อยกว่า 130 mg/dL
มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 2ข้อ และความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า 10% III. ความเสี่งปานกลาง น้อยกว่า 130 mg/dL
มีความเสี่ยงหนึ่งข้อหรือน้อยกว่า IV. ความเสี่ยงต่ำ น้อยกว่า 160 mg/dL

การรักษาคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมีหลักการใหญ่สองข้อคือ

  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งประกอบไปด้วย การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายการควบคุมน้ำหนัก
  2. การใช้ยาลดไขมัน

มาถึงขั้นตอนการรักษาไขมันในเลือดสูง

ขั้นตอนการรักษาจะขึ้นกับลำดับความความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลลอดเลือด

ลำดับความเสี่ยงระดับสูงมาก เป้าหมายไขมันเลวต้องน้อยกว่า 100 mg/dL

ระดับ LDL การรักษา
หากไขมันเลวมากกว่า 100 ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยาลดไขมัน
หากไขมันเลวน้อยกว่า 100 ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ลำดับความเสี่ยงระดับสูง เป้าหมายไขมันเลวต้องน้อยกว่า 130 mg/dL

ระดับ LDL การรักษา
ระดับไขมันเลวมากกว่าหรือเท่ากับ 130 mg/dL ให้เริ่มต้นด้วยการปรับพฤติกรรม
ระดับไขมันเลวมากกว่าหรือเท่ากับ 130 mg/dL หลังจากปรับพฤติกรรมไปแล้ว 3 เดือน ให้การรักษาด้วยยาและการปรับพฤติกรรม
ระดับไขมันเลวน้อยกว่า130 mg/dL ให้ปรับพฤติกรรม

ลำดับความเสี่ยงระดับปานกลาง เป้าหมายไขมันเลวต้องน้อยกว่า 130 mg/dL

Your LDL Level Treatment
ระดับไขมันเลวมากกว่าหรือเท่ากับ 130 mg/dL ให้เริ่มต้นด้วยการปรับพฤติกรรม
ระดับไขมันเลวมากกว่าหรือเท่ากับ 160 mg/dL หลังจากปรับพฤติกรรมไปแล้ว 3 เดือน ให้การรักษาด้วยยาและการปรับพฤติกรรม
ระดับไขมันเลวน้อยกว่า130 mg/dL ให้ปรับพฤติกรรม

ลำดับความเสี่ยงระดับต่ำ เป้าหมายไขมันเลวต้องน้อยกว่า 160 mg/dL

Your LDL Level Treatment
ระดับไขมันเลวมากกว่าหรือเท่ากับ 160 mg/dL ให้เริ่มต้นด้วยการปรับพฤติกรรม
ระดับไขมันเลวมากกว่าหรือเท่ากับ 160 mg/dL หลังจากปรับพฤติกรรมไปแล้ว 3 เดือน ให้การรักษาด้วยยาและการปรับพฤติกรรม
ระดับไขมันเลวน้อยกว่า160 mg/dL ให้ปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม

อาหาร

หลักการกำหนดอาหารสำหรับผู้ที่ไขมันในเลือดสูง

  • จะต้องรับประทานไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ7 ของพลังงานที่ได้รับแต่ละวัน ไขมันอิ่มตัวพบได้ใน เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม ช็อคโกแลต อาหารที่ใช้การอบ เช่น คุกกี้ ไพน์ ขนมปัง อาหารทอด
  • ได้รับไขมันไม่เกินร้อยละ25-35 ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมด ประมาณว่าร้อยละ20-30จะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว
  • และควรรับอาหารที่มีคอเลสเตอรอลไม่เกิน 200 mg ต่อวัน
  • รับประทานอาหารที่มีใยอาหารเพื่อลดการดูดซึมไขมัน อาหารที่มีใยอาหารได้แก่
  • ธัญพืช เช่นข้าวโอ๊ต
  • ผลไม้เช่น แอปเปิ้ล กล้วย ส้ม พรุน
  • ถั่วชนิดต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วดำ เม็ดมะม่วงหิมพานต์
  • ให้รับประทานปลา salmon, tuna สัปดาห์ละสองมื้อ เนื่องจากปลาจะมีไขมันปลา omega-3 fatty acids ซึ่งจะลดการอักเสบ ป้องกันหลอดเลือดหัวใจ
  • ลดปริมาณเกลือ
  • ลดการดื่มสุราผู้ชายไม่ควรดื่มเกิด 2 ดื่ม ผู้หญิงไม่ควรเกินหนึ่งดื่ม เนื่องจากการดื่มสุรามากจะทำให้ความดันสูง และไตร์กลีเซอร์ไนด์สูง

การควบคุมน้ำหนัก

คนอ้วนหรือกลุ่มอ้วนลงพุงจะมีโอกาศที่ไขมันในเลือดจะสูง การลดน้ำหนักจะช่วยลดไขมันในเลือดลงได้ เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะอ้วนลงพุงได้แก่ เส้นรอบเอวเกิน ไตร์กลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง ไขมันดีต่ำ ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง โดยต้องมีอย่างน้อย3ข้อ

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นประจำจะลดระดับไขมันเลว และไตร์กลีเซอร์ไรด์ในเลือด และเพิ่มไขมันดี โดยแนะนำให้ออกอย่างน้อย 60 นาทีต่อสัปดาห์ ยิ่งออกมากยิ่งได้ประโยชน์

ยาลดไขมัน

หากปรับเเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วระดับคอเลสเตอรอลในเลือดยังไม่ได้ตามเกณฑ์ ก็จำเป็นต้องใช้ยารักษาไขมันในเลือดซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม

  1. Statins เป็นยาที่ใช้รักษาลดไขมันเลว LDL cholesterol
  2. Bile acid sequestrants เป็นยาที่ใช้รักษาลดไขมันเลว LDL cholesterol มักจะให้ร่วมกับยา Statin
  3. Nicotinic acidเป็นยาที่ใช้รักษาลดไขมันเลว LDL cholesterol และไตร์กลีเซอร์ไรด์ และเพิ่มระดับไขมันดี HDL cholesterol เนื่องจากยาอาจจะมีผลข้างเคียงจึงไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
  4. Fibratesเป็นยาที่ใช้รักษาลดไตร์กลีเซอร์ไรด์ และเพิ่มไขมันดี HDL cholesterol ยานี้อาจจะมีผลข้างเคียงเพิ่มเมื่อใช้ร่วมกับ statin
  5. Ezetimibeเป็นยาที่ใช้รักษาลดไขมันเลว LDL cholesterol ยานี้ลดการดูดซึมไขมันจากลำไส้

เพิ่มเพื่อน

>การเจาะเลือดตรวจไขมันในเลือ