ยาแก้ปวดลดการอักเสบ Sulindac
Sulindac เป็นยาต้านอักเสบในกลุ่ม nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) โดยการลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการอักเสบ และอาการปวดใช้รักษาโรคที่มีอาการปวด เช่น ข้ออักเสบ เอ็นอักเสบ โรคเกาต์
ยานี้มีผลข้างเคียงที่ผู้รับประทานจะต้องทราบ
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ยากลุ่ม NSAIDs จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ยานี้เป็นเวลานาน และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ยา Sulindac ห้ามระงับอาการปวดหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงต่อระบบทางเดินอาหาร
- ยากลุ่ม NSAIDs จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนทางเดินอาหารได้แก่ เลือดออกทางเดินอาหาร แผลกระเพาะอาหาร กระเพาะทะลุ
ก่อนจะใช้ยา Sulindac จะต้องแจ้งแพทย์
- หากคุณเป็นโรคหอบหืดหรือโรคภูมิแพ้
- หากท่านเคยเป็นโรคกระเพาะหรือแผลในกระเพาะอาหาร
- หากคุณเคยเป็นโรคลำไส้อักเสบ Crohn's diseaseหรือ ulcerative colitis.
- กำลังตั้งครรภ์หรือให้ยมบุตร
- อายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 65 ปี
- เป็นโรคไตหรือโรคตับ
- เป็นนิ่วในไต
- มีปัญหาเรื่องโรคหลอดเลือด หรือโรคหัวใจ
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง
- มีประวัติเลือดออกง่าย
- เป็นโรค SLE
- รับประทานยาหรือสมุนไพรอื่น
- ประวัติเคยแพ้ยากลุ่ม NSAID (เช่น as aspirin, ibuprofen, diclofenac, and indometacin)
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Sulindac
ยา Sulindacใช้ในการรักษาอาการปวดและอักเสบของโรค
- ข้อเสื่อม
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- โรค Ankylosing spondylitis
- โรคเอ็นหัวไหล่อักเสบ
- โรคเกาต์
ขนาดและวิธีรับประทานยา Sulindac
ก่อนจะใช้ยา Sulindac จะต้องประเมินประโยชน์และโทษของยา และพยายามใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุดที่จะรักษาอาการของโรค
- ยานี้ให้รับประทานวันละ 2 ครั้งขนาดไม่เกินวันละ 400 มิลิกรัม
- สำหรับโรค ข้อเสื่อม (osteoarthritis), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์(rheumatoid arthritis), และ ankylosingspondylitis ให้เริ่มขนาด 150 มิลิกรัมวันละ 2 ครั้งและปรับยาตามการตอบสนองต่อการรักษา
- สำหรับโรคเก๊าต์ และ โรคเอ็นหัวไหล่อักเสบ ให้เริ่มครั้งละ 200 มิลิกรัมวันละ 2 ครั้ง
ข้อห้ามในการใช้ยา
Sulindac
- เคยมีประวัติแพ้ยา
- โรคหอบหืด ลมพิษหลังจากรับประทานยากลุ่ม NSAIDs
- ห้ามใช้แก้ปวดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ
สำหรับผู้ที่ใช้ยา Sulindac หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยาและพบแพทย์
แม้ว่าผลข้างเคียงที่รุนแรงจะเกิดไม่บ่อย แต่อาจจะอันตรายต่อผู้ที่ใช้ยา ดังนั้นหากเกิดอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยาและพบแพทย์
- หายใจลำบาก หรือหายใจมีเสียงดังวีดซึ่งอาจจะเกิดกำเริบของโรคหอบหืด
- บวมรอบปาก รอบตา หรือมีผื่นซึ่งเกิดจากการแพ้ยา
- แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย หายใจหอบ พูดไม่ชัด มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว หรือการมองเห็น
- อาเจียนสีดำหรือเป็นเลือด ถ่ายอุจาระเหลวสีดำหรือถ่ายเป็นเลือด
- ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
- ปัสสาวะมีเลือดปน หรือมีอาการปวดเมื่อปัสสาวะ
- คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจาระซีด ตัวเหลืองตาเหลือง
- ไข้ ผืนแดง ผิวหนังลอก เจ็บคอ
- ผิวมีจ้ำเลือด เลือดออกง่าย ปวดกล้ามเนื้อ
ข้อควรระวังในการใช้ยา Sulindac
- ควรใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีประวัติเลือดออก หรือมีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
- ไม่ควรให้ยานี้แก่เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตรเนื่องจากยังไม่มีการศึกษาถึงความปลอดภัย
- ควรบอกแพทย์หรือเภสัชกรหากแพ้ยาแอสไพรินหรือยาบรรเทาข้ออักเสบอื่น ๆ
- การใช้ยา Sulindac อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือหลอดเลือดทางสมองกำเริบ ดังนั้นไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดในขนาดยาที่สูงหรือนาน
- หากมีอาการแน่นหน้าอกซึ่งเป็นอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หายใจเหนื่อยหอบ อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง ต้องรีบพบแพทย์
ผลข้างเคียงของยา Sulindac
- หากเกิดอาการรู้สึกไม่สบายมีอาการถ่ายเหลว ให้รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย และดื่มน้ำทดแทนปริมาณน้ำที่สูญเสียไป
- แน่ท้อง แสบท้อง วิธีแก้ไขให้รับประทานยาหลังอาหารทันที หากยังเกิดอาการก็ให้ปรึกษาแพทย์
- อาการอื่นที่พบบ่อยได้แก่ มึนงง เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ บ้านหมุ มีเสียงในหู หากอาการดังกล่าวเป็นมากให้ปรึกษากับแพทย์
ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์
สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท B (ประเภท D เมื่อใกล้คลอด)
จะต้องหลีกเลี่ยงอะไรหากรับประทานยา Sulindac
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุราเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงเลือดออกในกระเพาะอาหาร
- ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดหรือยารักษาไข้หวัดที่มีส่วนผสมของยากลุ่มNSAIDs โดยจะต้องอ่านสลากยาก่อนรับประทาน
- หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้าๆ
หากท่านรับประทานยาดังต่อไปนี้จะต้องแจ้งแพทย์
- หากรับประทานยาต้านโรคซึมเศร้าเช่นยา citalopram, duloxetine, escitalopram , fluoxetine, fluvoxamine , paroxetine, sertraline, venlafaxineเพราะจะทะให้เกิดเลือดออกง่าย
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- cyclosporine
- ยาขับปัสสาวะ
- ยารักษาเชื้อรา Fluconazole
- ยารักษาเบาหวาน Glibenclamide
- ยาลดโพแทสเซี่ยมในเลือด Kayexalate
- ยา Lithium
- ยากดภูมิคุ้มกัน methotrexate
- steroids
- ยาลดความดันโลหิต เช่น candesartan , irbesartan, losartan, valsartan , telmisartan, olmesartan
- ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitorเช่น enalapril ,ramipril
- ยาในกลุ่ม NSAIDs
ข้อระวังในการใช้ยากลุ่ม NSAID NSAIDs