ค่า เฮมาโตคริต hematocrit
ค่า เฮมาโตคริต hematocrit(Hct%)
เฮมาโตคริต( HCT หรือ Hct) หรือความเข้มข้นของเลือดเป็นการตรวจเพื่อหาปริมาตรเม็ดเลือดแดงในเลือด มักเรียกทับศัพท์ว่าเฮมาโตคริต (haematocrit หรือ hematocrit) หรือ ปริมาตรเซลล์อัดแน่น (packed cell volume, PCV) หรือเข้าใจกัน
ง่าย ๆ ก็คือเป็นการวัดว่าร่างกายมีเม็ดเลือดแดงพอหรือไม่ หากไม่พอก็เกิดภาวะโลหิตจาง
วิธีการปฏิบัติของการหาค่าเฮมาโตคริต
เจาะเลือดที่ปลายนิ้วใส่ในหลอดแก้ว แล้วนำไปปั่นโดยใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางให้เม็ดเลือดแดงไปกองรวมตัวกันที่ก้นหลอดแก้ว ซึ่งจะได้เลือดซึ่งแบ่งเป็นสองชั้นคือชั้นน้ำเหลือง และเม็ดเลือดแดง เมื่อนำมาเปรียบเทีนบปริมาตรเม็ดเลือดแดงเทียบกับเลือดจะได้ค่าความเข้มข้นของเลือด
ทำไมจึงต้องตรวจความเข้มของเลือด
การตรวจความเข้มข้นของเลือดเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ความผิดปกติที่พบมีได้ทั้งมากเกินไป และน้อยเกินไป ค่าเข้มข้นของเลือดไม่ได้บอกสาเหตุของโรค บอกเพียงแต่มีความผิดปกติของปริมาณเม็ดเลือดแดง
ค่าปกติของ Hct
- ให้ยึดถือตามค่าที่ระบุไว้ในใบแสดงผลการตรวจเลือด (ถ้ามี)
- ค่าปกติทั่วไป
Hematocrit (HCT)
ผู้ชาย: |
42%–52% or 0.42–0.52 volume fraction |
ผู้หญิง: |
36%–48% or 0.36–0.48 volume fraction |
เด็ก: |
29%–59% or 0.29–0.59 volume fraction |
ทารก: |
44%–64% or 0.44–0.64 volume fraction |
ค่าวิกฤติ (ยกเว้นทารก) Hct < 15% หรือ > 60%
ความผิดปกติที่พบได้
ในทางน้อยเกินไป
สาเหตุ
- เกิดจากร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยไปทำให้เกิดโรคโลหิตจาง
- เกิดโรคที่ทำให้บวม เช่นโรคตับแข็ง (cirrhosis) โรค Nephrotic syndrome เกิดการเจือจางเม็ดเลือดแดงทำให้ค่าHct จึงได้ค่าต่ำลง
- เกิดการเสียเลือดค่อนข้างมากจากเหตุใดเหตุหนึ่ง เช่น ริดสีดวงทวาร มีพยาธิปากขอในลำไส้ เลือดออกทางเดินอาหาร หรือตกเลือด
- เกิดจากการขาดวิตามิน เช่น วิตามิน บี 12 กรดฟอลิก หรือธาตุเหล็ก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดงได้ในขนาดที่เล็กลง หรือได้จำนวนน้อยลง ซึ่งย่อมมีผลโดยตรงทำให้ค่า Hct ต่ำลงกว่าปกติ
- เป็นโรค์ไขกระดูกมีความผิดปกติ (bone marrow failure) เช่นการติดเชื้อ จากยาหรือเนื้องอก ทำให้สร้างเม็ดเลือดแดง หรือเซลล์ชนิดอื่นๆลดลง
- โรคไตวายเรื้อรัง ทำให้ไตผลิตฮอร์โมนสร้างเม็ดเลือดแดง (erythropoietin) ลดลงซึ่งทำให้ ไขกระดูกได้รับการกระตุ้นลดลง ดังนั้นความเข้มข้นของเลือดจึงลดลง
- อาจจะเกิดจากการตั้งครรภ์ เนื่องจากการตั้งครรภ์ย่อมสร้างสภาวะการกักคั่งน้ำ (state of overhydration) จึงย่อมมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงลดความหนาแน่นลง ค่า Hct จึงต่ำลง
- อาจมีโรคร้ายเกี่ยวกับไขกระดูก เช่น lymphoma, multiple myeloma, leukemia หรือ Hodgkin's disease
- โรคภูมิทำลายตัวเอง Autoimmune diseases เช่น lupus erythematosus or rheumatoid arthritis
- โรคที่เม็ดเลือดแดงแตก เช่น G-6 PD
- โรคมะเร็งเม็ดเลือด
- ขณะกำลังตั้งครรภ์ร่างกายจะมีสภาวะบวมน้ำเล็กน้อย ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดสภาวะเลือดเจือจางลง (hemodilution) ฉะนั้น Hct ย่อมจะมีค่าต่ำเกินความจริง
- การกินยาบางชนิดก็อาจมีผลให้ค่า Hct ต่ำลงได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ chloramphenicol หรือ penicillin
หมายเหตุ ขอย้ำว่า ทุกข้อที่กล่าวมาแล้วจะพบคำว่า "อาจ" อยุ่ทุกข้อ ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่า อาจจะเป็นหรืออาจไม่เป็นตามนั้นก็ได้
ในทางมากเกินไป
สาเหตุ
- เกิดสภาวะการสร้งเม็ดเลือดแดงมาก (erythrocytosis) เช่น การขึ้นไปอยู่ในที่สูงซึ่งมีออกซิเจนเบาบาง จนร่างกายต้องเร่งสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาให้มากกว่าปกติ ในการนี้ย่อมอาจทำให้เม็ดเลือดแดงที่ผลิตไว้แล้วคับคั่งเกินความจำเป็น
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจมาแต่กำเนิด (congenital heart disease) ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงให้มีจำนวนมากขึ้นเพื่อส่งออกซิเจนให้แก่กล้ามเนื้อหัวใจและอวัยวะต่าง ๆ ในปริมาณที่พอเพียง
- โรคเม็ดเลือดแดงมากเกิน (polycythemia vera) ซึ่งเป็นโรคที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงมาก
- เกิดจากการขาดน้ำ Dehydration อย่างรุนแรง เช่น เกิดอาการถ่ายท้องอย่างรุนแรง ถูกไฟลวกอย่างรุนแรง ฯลฯ
- โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD) ร่างกายต้องสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มเพื่อชดเชยภาวะขาดออกซิเจนจากโรคปอดเรื้อรัง
- ขนาดของเม็ดเลือดแดงที่ใหญ่กว่าปกติ ก็จะทำให้ Hct อันเป็นผลจากการคำนวณสูงเกินความจริงไปด้วย
- ในกรณีใดก็ตามที่เซลล์เม็ดเลือดขาวมีจำนวนสูงเกินปกติไปมากจะมีผลในขณะปั่นเลือดด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง อาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวย่อมลงมาปะปนกับเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้ดูเหมือนว่าเม็ดเลือดแดงจะมากขึ้นโดยเหตุนี้ย่อมทำให้ Hct สูงขึ้นด้วย
- โรคไตที่มีการสร้าง erythropoietin เพิ่มขึ้น
Hemoglobin | Hematocrit | Red blood cell | Inclusion body | เม็ดเลือดแดง | Reticulocyte count | MCV | MCHC | MCH | ลักษณะเม็ดเลือดแดง | เกล็ดเลือด | เม็ดเลือดขาว | Neutrophil | Lymphocyte | Eosinophil | Monocyte | Basophil | Rh | กรุปเลือด
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว