Reticulocyte Count



Reticulocyte

เซลล์เม็ดเลือดแดงชนิด Reticulocyte เป็นเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดแดงอยู่ระหว่างเซลล์ตัวแก่เม็ดเลือดแดงและ nucleated red blood cell ปกติจะพบเซลล์นี้ในปริมาณเล็กน้อยในกระแสเลือด เนื่องจากยังเป็นเซลล์ตัวอ่อน ซึ่งมีร่องรอยของนิวเคลียสเหลือเป็นจุดสีม่วงอมน้ำเงินติดอยู่ (มองด้วยกล้องขยาย จะเห็นคล้ายตาข่าย) มันจึงมีคุณสมบัติยังไม่พร้อมที่จะเข้ามาทำหน้าที่เหมือนเม็ดเลือดแดงทั่วไป การที่มี Reticulocyte เข้ามาอยู่ในกระแสเลือดมากกว่าเกณฑ์ปกติ จึงแสดงว่า อาจเกิดความผิดปกติของไขกระดูก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดการผลิตเม็ดเลือดแดง หรือร่างกายอาจมีการสูญเสียเลือด หรืออาจมีความต้องการออกซิเจนมากผิดปกติ จึงต้องเร่งส่ง Reticulocyte เข้าสู่กระแสเลือด รวมทั้งอาจแสดงว่ากำลังเกิดโรคโลหิตจาง

ค่าปกติของ Reticulocyte Count

Reticulocyte Count : 0.5 – 2.0 % ของ RBC หรือ 30,000-130,000 per microliter.

จุดประสงค์เพื่อ

  • เป็นการหาสาเหตุของโลหิตจางหากผลเลือด  CBCRBC counthemoglobin หรือ hematocrit
  • เพื่อประเมินการทำงานของไขกระดูก ว่าสามารถตอบสนองต่อภาวะโลหิตจางได้หรือไม่
  • เพื่อเป็นการแยกหาสาเหตุของโลหิตจางที่
  • เป็นการติดตามการตอบสนองต่อการรักษาของโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กค่ะ
  • ดูการตอบสนองของไขกระดูกหลังจากรักษาด้วยเคมีบำบัด
  • เป็นการติดตามการทำงานของไขกระดูกหลังจากที่มีการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก

วิธีการตรวจ

การตรวจนไม่อยากเพียงแค่หยดเลือด 1 หยดลงในแผ่นสไลด์ แล้วนับจำนวนเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนต่อเม็ดเลือดแดงตัวแก่100ตัว การรายงานจะรายงานเป็น

  • Reticulocyte (%) = [Number of Reticulocytes / Number of total Red Blood Cells] X 100

การตรวจอื่นๆที่มักจะตรวจเมื่อพบว่าค่า Reticulocyte Count ผิดปกติ

  • การตรวจหาปริมาณเหล็กในเลือด
  • ตรวจหาปริมาณวิตามิน Vitamin B12 และกรด Folate
  • เอ็นไซม์ G6PD
  • ฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง Erythropoietin
  • บางรายอาจจะต้องเจาะไขกระดูก bone marrow aspiration and biopsy 

แพทย์จะสั่งตรวจ reticulocyte count เมื่อไร

  • ผลการตรวจ  CBC พบว่ามีการลดลงของจำนวนเม็ดเลือดแดง มีการลดลงของเฮมาโกลบิน  hemoglobinมีการลดลงของความเข้มข้นของเลือด  hematocrit
  • แพทย์ต้องการประเมินการทำงานของไขกระดูก
  • ผู้ที่มีอาการของภาวะโลหิตจาง หรือเลือดออกเรื้อรัง ซึ่งจะมีอาการ ซีด เหนื่อยง่าย หายใจหอบ เพลีย ขาดพลัง
  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดแดงเช่น  iron deficiency anemia, vitamin B12 or folate deficiency, หรือ  kidney disease และอยู่ระหว่างการรักษาเพื่อประเมินผลการรักษา
  • ผู้ที่จะต้องรักษาด้วยเคมีหรือรังสีบำบัด
  • ผู้ที่จะทำการปลูกถ่ายไขกระดูก

การแปลผล

การแปลผลเลือดจะต้องแปลผลร่วมกับการตรวจเลือดอื่นๆเช่น  CBCRBC counthemoglobin  hematocrit โดยหลักแล้ว reticulocyte count จะบ่งบอกการทำงานของไขกระดูก หากพบว่ามีโลหิตจางค่า reticulocyte count ควรจะสูงขึ้น

ค่า reticulocyte count ที่สูงมีสาเหตุ

  • การมีเลือดออกหรือเสียเลือดเช่นเลือดออกทางเดินอาหาร การแท้งบุคร ริดสีดวง ค่า reticulocyte count จะขึ้นภายใน 2-3วันหลังจากมีการเสียเลือด สำหรับผู้ที่เสียเลือดเรื้อรังก็จะมีปริมาณ reticulocyte count สูงอยู่ตลอดเวลา
  • โรคโลหิตจางที่มีการแตกของเม็ดเลือดแดง Hemolytic anemia เช่น thalassemia, G6PD SLE
  • เม็ดเลือดแดงแตกในทารก Hemolytic disease of the newborn
  • หลังจากมีเลือดออก หรือภาวะขาดออกซิเจน
  • ระยะฟื้นตัวจากการให้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
  • เม็ดเลือดแดงอาจถูกทำลายจากเหตุต่าง ๆ เชน จากระบบภูมิคุ้มกัน หรือจากโรคของ เฮโมโกลบิน หรือจากโรคม้ามโต
  • การตอบสนองต่อการรักษาอาการขาดธาตุเหล็ก วิตามิน บี 12 หรือฟอเลต อาจมีการกระตุ้นให้

หากตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นโลหิตจางแต่ reticulocyte count ไม่ขึ้นแสดงว่าจะมีปัญหาในขบวนการผลิตเม็ดเลือดแดง เช่นโรคที่ไขกระดูก หรือขาดวิตามินหรือแร่ธาตุที่สำคัญ หรือขาดฮอร์โมน



ค่า reticulocyte count ที่ต่ำมีสาเหตุ

  • ขาดธาตุเหล็ก
  • โรค Pernicious anemia หรือขาดกรดโฟลิก folic acid deficiency
  • ไขกระดูกฝ่อ Aplastic anemia
  • ได้รับรังสีรักษา Radiation therapy หรือเคมีบำบัด
  • ไขกระดูกทำงานผิดปกติเนื่องจากการติดเชื้อ หรือเนื้องอกอาจกำลังเป็นโรคมะเร็ง
  • เป็นโรคไตวายรุนแรง kidney disease
  • อาจเกิดโรคไขกระดูกล้มเหลว (bone marrow failure)
  • ยา

Hemoglobin |  Hematocrit |  Red blood cell  |  Inclusion body  |  เม็ดเลือดแดง |  Reticulocyte count |  MCV | MCHC |  MCH |  ลักษณะเม็ดเลือดแดง |  เกล็ดเลือด |  เม็ดเลือดขาว |  Neutrophil |  Lymphocyte |  Eosinophil |  Monocyte |  Basophil  Rh |  กรุปเลือด

แสดงว่าร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดแดงออกมามากซึ่งอาจจะมีสาเหตุ

  • โรคหัวใจแต่กำเนิดทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน
  • ภาวะขาดน้ำ
  • โรคถุงลมโป่งพอง
  • โรคไขกระดูกที่มีการสร้างเม็ดเลือดแดงมาก

หากค่าเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ

  • มีเลือดออด
  • โรคไต
  • ไขกระดูกไม่ทำงาน
  • ขาดสารอาหาร เช่นธาตุเหล็ก วิตามินบี12 กรดโฟลิก
  • คนตั้งครรภ์เนื่องจากคนท้องมีปริมาณน้ำมากกว่าปกติ

Hemoglobin | Hematocrit | Red blood cell | Inclusion body | เม็ดเลือดแดง | Reticulocyte count | MCV | MCHC | MCH | ลักษณะเม็ดเลือดแดง | เกล็ดเลือด | เม็ดเลือดขาว | Neutrophil | Lymphocyte | Eosinophil | Monocyte | Basophil | Rh | กรุปเลือด

เพิ่มเพื่อน